close

หน้าแรก

menu
search

นิติกรท้องถิ่นซัดแรง พ.ร.บ.ความหลากหลายทางชีวภาพฯ ขัดหลักกระจายอำนาจฯ-ผลักภาระให้ท้องถิ่น

schedule
share

แชร์

          “บรรณ” นักวิชาการท้องถิ่น แจงเหตุควรคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ความหลากหลายทางชีวภาพฯ ชี้ภารกิจดูแลความหลากหลายทางชีวภาพควรกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ไม่ควรผลักมาแต่งาน แต่ส่วนกลางได้ผลประโยชน์

          นายบรรณ แก้วฉ่ำ นักวิชาการด้านกฎหมายการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว “บรรณ แก้วฉ่ำ” กรณีที่สำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติ ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. …. โดยระบุว่า

 

          ทำเป็นร่าง พรบ.ล้วงเข้าไปเก็บรายได้ในท้องถิ่นนำเข้าส่วนกลาง แล้วโยนงานให้ อบต.เทศบาล

….เป็นร่างที่ผ่านการรับฟังมา ๑ ปีแล้ว #เป็นตัวอย่างกฎหมายที่สะท้อนความต้องการที่จะรวมศูนย์อำนาจ ของรัฐบาล คสช.ลอกคราบ #และโยนขี้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

….ชงโดยข้าราชการประจำในส่วนกลาง ร่วมกับกฤษฎีกา เห็นแก่ตัว ถือโอกาสที่อยู่ใกล้ชิดผู้มีอำนาจ เอาเปรียบเจ้าหน้าที่ อบต.เทศบาลในพื้นที

….ยุค คสช.และ ยุค คสช.ลอกคราบ กฎหมายแนวนี้ถูกผลิตออกมาจำนวนมาก…และจะสร้างปัญหาแก่ประเทศและประชาชนสืบต่อไปในภายหน้ายาวนาน…อปท.ต้องร่วมกันเสนอให้ยกเลิกเพิกถอนเสียให้สิ้น

….ภารกิจดูแลทรัพยากรชีวภาพ ควรกระจายอำนาจถ่ายโอนมาให้ อปท.ในแต่ละแห่ง ให้เขามีอำนาจหน้าที่ดูแลกันภายในเขตท้องถิ่นของเขาเอง

….แต่ ร่างกฎหมายฉบับนี้ กลับให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบซึ่งกระทรวงฯตั้งเอง (ส่วนกลาง) เป็นผู้อนุญาตเอกชน ในการเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ

….สอดไปอนุญาต ในเขตท้องถิ่นแห่งใดก็ได้ทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดเก็บค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ เข้าตนเอง

….นั่นยังไม่นับว่าปัญญาอ่อนสักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับบทบัญญัติในมาตรา ๓๑ นี้ ที่ ผลักภาระหน้าที่ในการจัดทำบัญชีทรัพยากรชีวภาพ ไปให้ อบต.เทศบาล แล้ว สำนักนโยบายฯ ก็เป็นผู้กำกับดูแล…. บังคับให้ อบต.เทศบาล จัดทำบัญชี พร้อมนำส่ง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ และยังให้ อบต.เทศบาล มีหน้าที่ปรับปรุงบัญชีให้เป็นข้อมูลปัจจุบันทุกสองปีพร้อมนำส่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

….คือจะบอกว่า อำนาจในการอนุญาต และเก็บค่าธรรมเนียม แบ่งผลประโยชน์กับเอกชนที่ตนอนุญาตให้เข้าไปเบียดเบียน ทรัพยากรชีวภาพในเขตท้องถิ่น #ให้เก็บเข้าส่วนกลางแล้วโยนเฉพาะงานให้ท้องถิ่นรับไป

…..ที่ผ่านมา กระทรวงอื่นๆ ลักลอบออกเป็นคำสั่ง เป็นประกาศ โยนงานให้ อปท.แล้วตั้งตนเองเป็นผู้กำกับดูแล นั่งกระดิกขา รอให้ เจ้าหน้าที่ อปท.จัดทำรายงาน ก็มักจะเกิดปัญหาถูก นายบรรณ แก้วฉ่ำ จัดทำบทความความเห็นวิจารณ์ผ่านโซเชี่ยลบ้าง ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ที่เป็นแนวร่วมการกระจายอำนาจบ้าง

…. แต่เดี๋ยวนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เขาพัฒนารูปแบบการโยนงานให้ แก่ อปท.ด้วยการทำเป็น กฎหมายระดับ พรบ.เสียทีเดียว

….. สมาคม อบต., สมาคมสันนิบาตเทศบาล ควรยื่นหนังสือคัดค้าน ร่าง พรบ.นี้

……สำหรับเจ้าหน้าที่ อบต. เทศบาล แห่งใด ที่ไม่ประสงค์จะ บันเทิงใจกับภารกิจ ตรวจสอบ หนวดเต่า หางชะมด ตูดชะนี หูอีเก้ง ฯลฯ พร้อมทั้งงานจัดทำบัญชีนำส่งให้ กระทรวงทรัพฯ ก็ช่วยกันแสดงความเห็นคัดค้าน ผมไม่แน่ใจว่าผ่านสภาแล้วยัง

 

          ทั้งนี้ (ร่าง) พระราชบัญญัติ ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. …. เปิดรับฟังความคิดเห็นเมื่อ มี.ค. 63 โดยมีคณะกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติทำหน้าที่กำกับดูแลด้านนโยบาย ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธาน มีกรรมการ โดยตำแหน่ง จำนวน 9 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 10 คน ซึ่งแต่งตั้ง จากผู้เชี่ยวชาญ มีผลงาน หรือประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์เกี่ยวกับงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่น้อย กว่า 10 ปี โดยเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและ เลขานุการ (ยกระดับจากคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

          สำหรับมาตราที่นายบรรณระบุว่า เป็นการผลักภาระงานให้กับคนท้องถิ่น คือ มาตรา 31 ให้เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยคำแนะนำของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ จัดทำบัญชีทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ของตนไม่รวมพื้นที่ที่อยู่ใน ความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ โดยการจัดทำบัญชีต้องจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและ ชุมชนท้องถิ่น และนำส่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในสองปีนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ และให้ปรับปรุงบัญชีให้เป็นข้อมูลปัจจุบันทุกสองปีพร้อมนำส่งสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อ่าน (ร่าง) พระราชบัญญัติ ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. …. (ฉบับเต็ม) ที่นี่

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

หนุนท้องถิ่นป้องกัน – คุมไฟป่า นำร่อง 19 อปท. จังหวัดเชียงใหม่

หนุนท้องถิ่นป้องกัน – คุมไฟป่า นำร่อง 19 อปท. จังหวัดเชียงใหม่

ราชกิจจาฯ ออกประกาศ ก.ก.ถ. ด้านการป้องกันและควบคุมไฟป่า…

schedule
“สมศักดิ์” ยันเดินหน้าแผนกระจายอำนาจฯ ฉ.3 เต็มที่

“สมศักดิ์” ยันเดินหน้าแผนกระจายอำนาจฯ ฉ.3 เต็มที่

“รองนายกฯ สมศักดิ์ เทพสุทิน” ถก กมธ.กระจายอำนาจ หาแนวทา…

schedule
รอ! สถ. ประกาศ “กำหนดสอบ ขรก.ท้องถิ่น” เตือนอย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จ

รอ! สถ. ประกาศ “กำหนดสอบ ขรก.ท้องถิ่น” เตือนอย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จ

‘โฆษกมหาดไทย’ เตือนอย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จ ‘กำหนดสอบบรรจ…

schedule
สถ. จับมือ JICA พัฒนาศักยภาพฟื้นฟูท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สถ. จับมือ JICA พัฒนาศักยภาพฟื้นฟูท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สถ. จับมือ JICA ประเทศญี่ปุ่น ลงนามรายงานการประชุมข “โค…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]