ประกาศแล้วรางวัลพระปกเกล้าปี’65 เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีควงเทศบาลตำนาน และอบต.อ่าวนางคว้ารางวัลพระปกเกล้าทองคำด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ - เทศบาลตำบลท่าสาป จังหวัดยะลา คว้ารางวัลด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ ส่วนอบจ.สงขลา –เทศบางเมืองแม่เหียะ เทศบาลเมืองกะทู้ และเทศบาลตำบลศรีเตี้ยรับรางวัล ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2565 สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดเวทีประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24 ในงานนี้ได้มีการประกาศรายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชนะเลิศรางวัลพระปกเกล้า เข้ารับรางวัลพระปกเกล้าทองคำและรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2565
รางวัลพระปกเกล้า เป็นรางวัลที่มอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศและโดดเด่น ซึ่งเป็นรางวัลที่มีอายุยาวนานที่สุดในประเทศไทย โดยในปี 2565 เป็นการมอบรางวัลครั้งที่ 22 สถาบันพระปกเกล้าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงได้จัดให้มีการมอบรางวัลพระปกเกล้า และใบประกาศเกียรติคุณสถาบันพระปกเกล้าขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา โดยมีการมอบรางวัลพระปกเกล้า 4 ประเภท ดังนี้ 1. ความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 2. การเสริมสร้างสันติสุขและสมานฉันท์ 3. การเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม และ 4. การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น ที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2565
ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน มีจำนวน 3 แห่ง คือ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , เทศบาลตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และ อบต.อ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ มีจำนวน 2 แห่ง คือ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และ เทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และ ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวน 4 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา , เทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่, เทศบาลเมืองกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ตและเทศบาลตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ประจำปี 2565 แบ่งออกเป็น 1.ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม และ 3. ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
รางวัลความเป็นเลิศ ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนมีจำนวน 5 แห่ง คือ เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช, เทศบาลเมืองเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ,เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง , เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน และ เทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวน 10 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก , เทศบาลเมืองเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น , เทศบาลตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน , เทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ,เทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ,เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี , เทศบาลตำบลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน , เทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ,องค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ,องค์การบริหารส่วนตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จำนวน 13 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ,เทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ,เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ,เทศบาลนครนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี , เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด , เทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ,เทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา , เทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ,เทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ , เทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ,องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ,องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัด อุบลราชธานี ,องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
นอกจากนั้นยังมีรางวัล ใบประกาศเกียรติคุณสถาบันพระปกเกล้าสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ประจำปี 2565 ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 8 แห่ง คือ เทศบาลเมืองเลย อำเภอเลย จังหวัดเลย ,เทศบาลตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ,เทศบาลเมืองบางกะดี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ,เทศบาลตำบลเวียงเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ,องค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ,องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น , อบต.ลอมคอม ต.ลอมคอม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ,องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวน 4 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี , เทศบาลตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ,องค์การบริหารส่วนตำบล แม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย , องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งนี้เป็นครั้งที่ 24 ในหัวข้อ “ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย” (New Security Challenges and Democracy) จัดขึ้นระหว่างวันที่ วันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2565 ประกอบด้วยเวทีประชุมกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม 5 เรื่อง คือ 1.เรื่อง “ประชาธิปไตยและความท้าทายของเทคโนโลยีสมัยใหม่” (Democracy and Advanced Technological Challenges) 2 เรื่อง “ประชาธิปไตยและการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์” (Democracy and Geopolitics Rivalry) 3 เรื่อง “ประชาธิปไตยกับความมั่นคงทางสังคม” (Democracy and Societal Security) 4 เรื่อง “ประชาธิปไตยและความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม” (Democracy and Environmental Security) และ 5 เรื่อง “ประชาธิปไตย โลกาภิวัตน์และการพลิกผันทางเศรษฐกิจ” (Democracy, Globalization and Economic Disruption)
สามารถรับชมการประชุมวิชาการ (ย้อนหลังได้ทาง)
https://www.facebook.com/kpi.ac.th
**รับชมการสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยได้ทางลิงค์
https://fb.watch/gCPIPRjot6/
**ดาวโหลดเอกสารประกอบการประชุมวิชาการได้ทางลิงค์
https://rb.gy/0jnh6g
**ดาวโหลดภาพกิจกรรมพิธีรับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2565 ได้ทางลิงค์
https://drive.google.com/drive/folders/1dLq_iwa2RaFvu5pk2DbJLTwlBhYY9f5n?usp=share_link