วัน อาทิตย์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566
menu
หน้าแรก ประเด็นเด็ด keyboard_arrow_down
อ่านต่อ
ข่าวดังท้องถิ่น keyboard_arrow_downข่าวประชาสัมพันธ์ keyboard_arrow_down
อ่านต่อ
ท้องถิ่นวาไรตี้ keyboard_arrow_down
อ่านต่อ
กิจกรรม รวมคลิป keyboard_arrow_down
หมวดหมู่ :

“พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” ถึงแก่อสัญกรรม สิริอายุ 98 ปี

access_time
พฤษภาคม 25, 2019

       วันที่ 26 พฤษภาคม 2562 เมื่อเวลา 09.09 น. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลพระมุงกุฎเกล้า หลังจากมีอาการป่วยด้วยระบบหัวใจล้มเหลว สิริอายุรวม 98 ปี  

       พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อ 26 สิงหาคม 2463 ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเมื่อปี 2484 โรงเรียนทหารม้า และอีกหลายสถาบันรวมทั้งวิทยาลัยการทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9 หลังจบการศึกษาได้เข้ารับราชการทหาร เข้าร่วมในสงครามอินโดจีน และสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังจึงเข้าสู่การเมืองในที่สุด

       ตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดคือ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทย และดำรงตำแหน่งนี้ถึง 3 สมัย สมัยที่ 1 ตั้งแต่ 3 มีนาคม 2523 – 29 เมษายน 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม 2526 สมัยที่ 2 ตั้งแต่ 30 เมษายน 2526 – 4 สิงหาคม 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 และสมัยที่ 3 วันที่ 5 สิงหาคม 2529 – 3 สิงหาคม 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน 2531

       หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 กันยายน 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

       พลเอกเปรมเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อบทบาทการเมืองในประเทศไทยมากที่สุดคนหนึ่ง ในช่วงที่วิกฤติการเมือง 6 ตุลาคม 2519 โดยเป็นคนผลักดันนโยบาย “การเมืองนำทหาร” นำไปสู่การออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้แปรพักตร์ในยุคที่มีคอมมิวนิสต์ ทำให้นักศึกษาที่หลบหนีเข้าป่า ได้ออกมาในที่สุด

       คนส่วนใหญ่จะรู้จักพลเอกเปรม ในนาม “ป๋าเปรม” ซึ่งมีที่มาจาก ในช่วงที่ พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้าเมื่อปี 2511 มักจะเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า "ป๋า" และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า "ลูก" จนเป็นที่มาของคำว่าป๋า หรือ ป๋าเปรม ขณะที่พลเอกเปรมมีบุคคลิกส่วนตัวเป็นคนพูดน้อย ในช่วงหนึ่งจึงได้รับฉายาว่า “เตมีย์ใบ้”

บทความที่เกี่ยวข้อง
close
หน้าแรกประเด็นเด็ดข่าวดังท้องถิ่นข่าวประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นวาไรตี้กิจกรรมรวมคลิป