close

หน้าแรก

menu
search

แนวปฏิบัติ! การรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง อปท.

schedule
share

แชร์

  จากกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายแดง จังหวัดระนอง ได้หารือไปยังจังหวัดฯ และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เนื่องจาก อบต.ทรายแดง ได้รับแจ้งจากแขวงทางหลวงว่า มีสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้ามาในเขตทางหลวงเป็นระยะ 6 เมตร ส่งผลผู้รับจ้างโครงการก่อสร้างทางหลวงบริเวณดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติงานได้ จากการตรวจสอบพบว่า สิ่งปลูกสร้างที่ล้ำเข้าไปในเขตทางหลวง คือ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ซึ่งเดิมใช้เป็นที่ทำการสภาตำบลทรายแดง และอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์จากอาคารดังกล่าวแล้ว ตัวอาคารยังอยู่ในสภาพดี อบต.ทรายแดง จึงวางแนวทางใช้ประโยชน์จากอาคารเป็นศูนย์กู้ชีพและศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)

  แต่จากการตรวจสอบเอกสารไม่มีหลักฐานยืนยันว่าอาคารก่อสร้างตั้งแต่เมื่อใด และไม่มีหลักฐานว่ามีการขออนุญาตแขวงทางหลวงก่อนการก่อสร้างอาคารแต่อย่างใด

  ซึ่งทางจังหวัดฯ ได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ 2 แนวทาง คือ 1. อบต.ทรายแดง อาจดำเนินการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง โดยดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  หรือ 2. อบต.ทรายแดง อาจดำเนินการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง โดยดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 213 ข้อ 214 และข้อ 217

  ด้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ให้ความเห็นว่า หาก อบต. ทรายแดง สามารถรื้อถอนอาหารที่เป็นสินทรัพย์ของ อปท. ก็สามารถทำได้ โดยดำเนินการในลักษณะงานจ้างก่อสร้าง ทั้งนี้ กรมฯ ยังได้ส่งหนังสือขอความเห็นไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการวินิจฉัย) เพื่อขอยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

  โดยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 คณะกรรมการวินิจฉัยได้ส่งหนังสือแจงแนวทางฏิบัติการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างไปยังกรมฯ โดยมีเนื้อหาส่วนสรุปว่า  1. หากการดำเนินการดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก หรือไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือไม่มีความจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาดำเนินการ หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการจัดจ้างในลักษณะอื่นที่มิใช้งานการสร้างได้

  2. หากการดำเนินงานดังกล่าว มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก หรือมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือมีความจำเป็นจะต้องมีการควบคุมดูแลการฏิบัติงานตลอดระยะเวลาดำเนินการหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการจัดจ้างในลักษณะงานก่อสร้าง

  ทั้งนี้ จากหลักการข้างต้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า อบต.ทรายแดง จะต้องดำเนินการจำหน่ายพัสดุตามข้อ 213 ข้อ 214 และข้อ 219  ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการลงจ่ายออกจากบัญชีและทะเบียนตามข้อ 218 และข้อ 219 แล้วแต่กรณี ประกอบกับการรื้อถอน โครงสร้างของสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วนออกไป ซึ่งเป็นอาคารที่ทำการสภา อบต.ทรายแดง และอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นงานก่อสร้าง ดังนั้น อปท. จะต้องถือปฏิบัติตามนัยหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 259 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2561

หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยฉบับเต็ม

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ชี้เป้า! มหาสงกรานต์ท้องถิ่น ชูเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร

ชี้เป้า! มหาสงกรานต์ท้องถิ่น ชูเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร

  เทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 เพิ่มความพิเศษด้วยการเฉลิ…

schedule
เปิดตัว! โครงการ “1 ตำบล 1 ทนายความ” นำร่องอบต. 14 แห่ง

เปิดตัว! โครงการ “1 ตำบล 1 ทนายความ” นำร่องอบต. 14 แห่ง

สมาคม อบต. แห่งประเทศไทย จับมือ สภาทนายความฯ เปิดตัว “โ…

schedule
สร้างกรุงเทพฯ สู่ Learning City เรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา

สร้างกรุงเทพฯ สู่ Learning City เรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา

กทม. เปิดวิสัยทัศน์ตอบโจทย์การเรียนรู้ทุกมิติ สร้างกรุง…

schedule
หนุนท้องถิ่นป้องกัน – คุมไฟป่า นำร่อง 19 อปท. จังหวัดเชียงใหม่

หนุนท้องถิ่นป้องกัน – คุมไฟป่า นำร่อง 19 อปท. จังหวัดเชียงใหม่

ราชกิจจาฯ ออกประกาศ ก.ก.ถ. ด้านการป้องกันและควบคุมไฟป่า…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]