วันที่ 27 ธันวาคม 2563 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั่วประเทศ กรณี “การเลือกตั้ง อบจ. ปี 2563” จำนวนทั้งสิ้น 1,135 คน ในระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2563 โดยเป็นการสำรวจทางออนไลน์ และผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง พบว่า ความเห็นต่อคำถาม “จุดด้อย” ของการเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้ คืออะไร ประชาชนร้อยละ 53.65 ระบุว่ามีการทุจริต, ร้อยละ 48.48 ระบุว่า ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า, ร้อยละ 42.69% ระบุว่า การประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้งในสื่อต่างๆ ค่อนข้างน้อย, ร้อยละ 39.13 ระบุว่า บางพื้นที่เดินทางไปเลือกตั้งไม่สะดวก เพราะสถานการณ์โควิด-19 และน้ำท่วม, ร้อยละ 37.97 ระบุว่า ป้ายหาเสียงระหว่าง นายก อบจ. และ ส.อบจ. แยกไม่ชัดเจน
“จุดเด่น” ของการเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้ คืออะไร ร้อยละ 81.79 ระบุว่า เปิดโอกาสให้คนไทยได้ไปเลือกตั้งท้องถิ่น, ร้อยละ 47.89 ระบุว่า มีนักการเมือง คนดัง/คนมีชื่อเสียงลงมาเล่นการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น, ร้อยละ 45.02 ระบุว่า คนรุ่นใหม่ลงสมัครมากขึ้น, 42.42 ระบุว่า การขยายเวลาในการใช้สิทธิ์ถึง 17.00 น. ขณะที่ร้อยละ 25.47 ระบุว่า มีการท าป้ายหาเสียงด้วยนโยบาย/ค าขวัญ บรรทัดเดียว
ประชาชนคิดเห็นอย่างไรกับการเลือกตั้ง อบจ.ในครั้งนี้ ร้อยละ 68.40 ระบุว่า เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ได้มีมานาน, ร้อยละ 58.44 ระบุว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นรากฐานของการเมืองระดับชาติ, ร้อยละ 48.20 ระบุว่า มีการแข่งขันสูงในหลายพื้นที่, 41.83 ระบุว่า มีผู้สมัครอิสระ/คนรุ่นใหม่จำนวนมาก ขณะที่ร้อยละ 39.32 ระบุว่า สามารถคาดเดาผลการเลือกตั้งในเขตของตนเองได้
สิ่งที่ได้รับจากการเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้ คืออะไร ร้อยละ 81.11 ระบุว่า ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง, ร้อยละ 62.31ระบุว่า ได้เลือกคนที่อยากให้มาบริหารจังหวัด, ร้อยละ 60.19 ระบุว่า ได้แสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย, 58.34 ระบุว่า ได้รักษาสิทธิทางการเมืองของตนเอง ขณะที่ร้อยละ 34.07ระบุว่า คนรุ่นใหม่ ผู้สมัครอิสระ ลงเล่นการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้วิเคราะห์การเลือกตั้ง อบจ.ในครั้งนี้ว่า ผลการเลือกตั้งโดยภาพรวมที่ออกมา ฐานเสียงเดิมยังเหนียวแน่นหลายจังหวัด สะท้อนให้เห็นผลงานและวาระการ ดำรงตำแหน่งที่ยาวนานของนายก อบจ.หน้าเก่ามีผลต่อชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ขณะที่หลายจังหวัดพรรคการเมือง ระดับชาติช่วยรักษาเก้าอี้นายก อบจ. หน้าเก่าเอาไว้ได้ แต่ก็มีนายก อบจ. หน้าใหม่ที่ล้ม นายก อบจ. หน้าเก่า ได้ด้วยเช่นกัน ขณะที่กลุ่มการเมืองหน้าใหม่อย่างคณะก้าวหน้า แม้ว่าจะไม่ได้รับชัยชนะในตำแหน่งนายก อบจ. เลย แต่การได้รับเลือกตั้ง ส.อบจ. ได้หลายที่นั่ง เป็นการบ่งบอกถึงความต้องการในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยเฉพาะจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ “New Generation”