close

หน้าแรก

menu
search

สถ.ร่อนหนังสือตอบ 7 ข้อหารือ จ.นครนายก กรณีช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิด-19 เป็นแนวทางให้ อปท.ทั่วประเทศ

schedule
share

แชร์

  วันที่ 23 พฤษภาคม 2563 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว.1505 ถึงสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด ทุกจังหวัด เนื้อหาเป็นการตอบข้อหารือแนวทางการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการป้องกันปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 โดยสรุปประเด็นสำคัญของข้อหารือ 7 ข้อ ได้ดังนี้

  1. กรณีประชาชนได้รับเงินช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ จำนวน 5,000 บาท หรือเงินเยียวยาในฐานะเกษตรกร หรือเงินช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคมแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้หรือไม่

    – หาก อปท.พิจารณาแล้วเห็นว่า ประชาชนที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการข้างต้นแล้วยังได้รับความเดือดร้อน อปท.สามารถให้ความช่วยเหลือตามระเบียบฯ ได้ตามเหมาะสม ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนของ อปท. โดยไม่ถือเป็นการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อนแต่อย่างใด

  2. กรณีที่ อปท.เกรงว่าจะเป็นการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อนตามข้อ 1 สามารถสืบค้นฐานข้อมูลการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐอื่นได้ที่ใด

    – ตามประเด็นในข้อ 1 ซึ่งไม่ถือเป็นการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อน ประเด็นนี้จึงตกไป

  3. กรณีที่อปท.ให้ความช่วยเหลือได้ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานของรัฐอื่น สามารถให้ความช่วยเหลือเป็นเงินสดหรือสิ่งของใช่หรือไม่ นอกจากนั้นในระบบ Thai QM จัดเก็บข้อมูลประชาชนเป็นรายบุคคล แต่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ ระบุให้ อปท.ให้ความช่วยเหลือเป็นรายครัวเรือน ดังนั้น อปท.จึงช่วยเหลือเป็นรายครัวเรือนมิใช่บุคคลใช่หรือไม่

  - อปท.สามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนเป็นเงินหรือสิ่งของ โดยต้องให้ความช่วยเหลือเป็นรายครัวเรือน มิใช่บุคคล

  1. กรณีที่ อปท.ให้ความช่ยเหลือเป็นเงิน สามารถจ่ายเป็นเงินได้ หรือต้องโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ขอรับความช่วยเหลือ และสามารถใช้แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดได้หรือไม่

  – อปท.สามารถโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามรายชื่อที่ประชาชนได้ลงทะเบียนไว้ได้ ส่วนการจ่ายเงินสดให้ผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานดังกล่าวของ อปท. ยืมเงินไปจ่าย   ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงิน ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547   และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 84

  1. การใช้ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบฯ นั้น กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้ อปท.พิจารณาใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล Thai QM ดังนั้น อปท.จะต้องใช้ข้อมูลจากระบบ Thai QM ในการให้ความช่วยเหลือ หรือสามารถประกาศให้ประชาชนที่ต้องการขอรับความช่วยเหลือมายื่นลงทะเบียน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือฯ ของอปท.เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป

  - อปท.ต้องประกาศให้ประชาชนที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือยื่นลงทะเบียน และนำข้อมูลดังกล่าวมาเข้าที่ประชุมเพื่อให้คณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนของ อปท.พิจารณา
   ให้ความช่วยเหลือ ด้านระบบ Thai QM สามารถนำมาประกอบการพิจารณาช่วยเหลือประชาชนได้

  1. ในการพิจารณาของคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนของ อปท. ด้านการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต ต้องยึดตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยอนุโลม จำเป็นต้องใช้แนวทางหรือเกณฑ์ตามแบบจัดเก็บข้อมูลผู้ประสบปัญหาสังคมของ พม.เพื่อตรวจสอบและกลั่นกรองใช่หรือไม่ และประชาชนมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวทางที่ พม.กำหนดถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติใช่หรือไม่

  – สามารถนำคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือและหลักเกณฑ์ช่วยเหลือมาใช้บังคับได้ ส่วนวิธีการดำเนินงานให้ศูนย์ช่วยหลือประชาชนของ อปท.สำรวจและลงทะเบียนรับ
  เรื่องขอรับการช่วยเหลือเพื่อใช้เป็นข้อมูลพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาปิดประกาศรายชื่อประชาชนที่ได้รับความช่วยเหลือ ณ สำนักงาน อปท.   ที่ทำการหมู่บ้าน ชุมชนให้ทราบทั่วกัน และรายงานผลการพิจารณาให้ อปท.ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้แนวทางตามแบบจัดเก็บข้อมูลผู้ประสบปัญหาสังคม
  ของ พม. แต่อย่างใด

  1. กรณีที่ อปท.จำเป็นต้องช่วยเหลือนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของ พม. กำหนดให้ช่วยเหลือด้านการเงินหรือส่งของเป็นวงเงินในการช่วยเหลือไม่เกินครั้งละ 3,000 บาทต่อครอบครัว และต่อเนื่องไม่เกิน 3 ครั้งต่อครอบครัวต่อปีงบประมาณ หาก อปท.กำหนดวงเงินที่สูงกว่า หรือจำนวนครั้งที่ให้การช่วยเหลือต่อปีมากกว่า เช่น รายละ 1,000 บาท จำนวน 9 ครั้ง หรือ 2,000 บาท จำนวน 5 ครั้ง หรือ 4,000 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นต้น สามารถทำได้หรือไม่

    – หาก อปท.มีความจำเป็นต้องช่วยเหลือประชาชนนอกเหนือจากหลักเกณฑ์การช่วยเหลือตามระเบียบฯ สามารถรายงานเหตุผลความจำเป็นเพื่อขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนให้ความช่วยเหลือได้

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

สุดยิ่งใหญ่พิธีเปิด “นนทบุรีเกมส์ 2024”

สุดยิ่งใหญ่พิธีเปิด “นนทบุรีเกมส์ 2024”

อบจ.นนทบุรีจัดใหญ่กว่า 5 พันชีวิต ร่วมพิธีเปิดการแข่งขั…

schedule
สมาคมสันนิบาตปลุกพลัง คิดไกล คิดใหม่ เพื่อชาวเทศบาล

สมาคมสันนิบาตปลุกพลัง คิดไกล คิดใหม่ เพื่อชาวเทศบาล

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย จัดการประชุมและการสัมม…

schedule
อบจ.นนทบุรี พร้อม! เจ้าภาพรอบคัดเลือกภาคกลาง “นนทบุรีเกมส์”

อบจ.นนทบุรี พร้อม! เจ้าภาพรอบคัดเลือกภาคกลาง “นนทบุรีเกมส์”

อบจ.นนทบุรี ประกาศความพร้อมเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬานักเ…

schedule
แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]