close

หน้าแรก

menu
search

กท.ดิจิทัลเพิ่ม 15 อปท.เป็นสมาร์ทซิตี้ หวังดูดเงินเอกชนลงทุนเพิ่ม 2 หมื่นล้านบาท

schedule
share

แชร์

          กระทรวงดิจิทัล รับรองอีก 15 เมืองท้องถิ่น เป็นสมาร์ทซิตี้ จากเดิมรับรองไปแล้ว 15 แห่ง และเสนออีก 4 เมืองเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network: ASCN) คาดหวัง ช่วยหนุนเอกชนลงทุนเพิ่ม 2 หมื่นล้าน 

 

          วันที่ 9 พ.ย.2565 มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ครั้งที่ 1/2565 ที่มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัดและผ่านระบบออนไลน์ โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และนายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า และผู้แทนจากสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย รวมถึงสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม

 

กท.ดิจิทัลเพิ่ม 15 อปท.เป็นสมาร์ทซิตี้ หวังดูดเงินเอกชนลงทุนเพิ่ม 2 หมื่นล้านบาท

 

          ที่ประชุมรับทราบการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะที่มี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน โดยให้มีการมอบตราสัญลักษณ์เพื่อรับรองการเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะเพิ่มเติมของอีก 15 พื้นที่ใน 14 จังหวัด ประกอบด้วย 

          1) นครระยอง เมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ จังหวัดระยอง
          2) คันทรงโมเดล เมืองแห่งความสุขที่พึงประสงค์และสังคมแห่งการแบ่งปัน จังหวัดชลบุรี
          3) เมืองอัจฉริยะจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
          4) โครงการพิษณุโลกนครอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จังหวัดพิษณุโลก
          5) นครเชียงรายสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดเชียงราย
          6) เมืองน่านสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดน่าน
          7) โคราชเมืองอัจฉริยะ จังหวัดนครราชสีมา
          8) Smart City อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
          9) กระบี่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดกระบี่
          10) จังหวัดพังงาสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดพังงา
          11) Satun Smart City จังหวัดสตูล
          12) พัฒนาเทศบาลนครเกาะสมุย สู่เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
          13) หาดใหญ่เมืองอัจฉริยะสีเขียว จังหวัดสงขลา
          14) ปัตตานีเมืองอัจฉริยะ จังหวัดปัตตานี
          15) เมืองสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์นราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

 

          ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นเมืองอัจฉริยะแล้ว 15 แห่งและเมื่อมีการรับรองเพิ่มเติมอีก 15 แห่งจะรวมเป็น 30 แห่ง  ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกว่า 20 ล้านคน โดยพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ และกิจการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะจากบีโอไอ และคาดว่าการรับรองเมืองอัจฉริยะเพิ่มอีก 15 เมืองที่ได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมวันนี้จะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่จากภาคเอกชนมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาการเสนอเมืองเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network: ASCN) เพิ่มเติมประกอบด้วย เชียงใหม่,ขอนแก่น,ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งเดิมมีเมืองที่เข้าร่วมแล้วคือ กรุงเทพฯ ชลบุรี และภูเก็ต ซึ่งทั้ง 7 เมืองนับเป็นเป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของรัฐบาล

 

          นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบผลการจัดกิจกรรมสานต่อความร่วมมือระดับภูมิภาคผ่านเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network: ASCN) ผลการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในปี 2565 ผ่านกิจกรรมการพัฒนากำลังคนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อาทิ โครงการนักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ (Smart City Ambassadors) รุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนากำลังคนดิจิทัลรุ่นใหม่ ควบคู่ไปกับการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

กิจกรรมส่งเสริมและสร้างความตระหนัก อาทิ การจัดประกวด The Smart City Solution Awards 2022 เพื่อมอบรางวัลแก่ผู้ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อการบริการภาคประชาชน และการจัดนิ ทรรศการ Smart City Expo 2022 ที่จะมีขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกา ยน – 2 ธันวาคม 2565

 

          ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้มอบตราสัญลักษณ์เพื่อรับรองการเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะไปแล้วจำนวน 15 เมือง  เป็นต้นแบบของเมืองที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดทำระบบข้อมูลสำหรับการบริหารการจัดการเมืองที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งแนวทางการดำเนินการพัฒนาเมืองทั้ง 15 เมืองอัจฉริยะนี้ ถือเป็นผลสัมฤทธิ์และความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นในประเทศไทยของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาชน

 

          สำหรับเมืองอัจฉริยะ 15 เมือง ที่ได้รับมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย เดิมประกอบด้วย  ขอนแก่นเมืองอัจฉริยะ, ฉะเชิงเทรา เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน, ภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ,เมืองศรีตรัง, การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม,เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4, สามย่านสมาร์ทซิตี้, การพัฒนาเมืองเก่าอย่างชาญฉลาด เทศบาลนครเชียงใหม่,เมืองอัจฉริยะเพื่อความเป็นเลิศที่ยั่งยืนสู่ชุมชน พื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และพื้นที่ประกอบ, เมืองแม่เมาะน่าอยู่ จังหวัดลำปาง, ยะลาเมืองอัจฉริยะเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน, นครสวรรค์สมาร์ทซิตี้,แสนสุขสมาร์ทซิตี้ จังหวัดชลบุรี, เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง, เมืองอัจฉริยะมักกะสันเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

 

          การขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย เพื่อยกระดับการบริหารจัดการเมืองในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่ต้องการให้เกิดการกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]