close

หน้าแรก

menu
search

ม.เทคโนฯ ลาดกระบัง-บพท.ร่วม 6 เมืองใหญ่ ระดมความเห็นสร้างแพลทฟอร์ม “Hackable City”แพลทฟอร์ม “เมืองแฮกได้”  

schedule
share

แชร์

          ม.เทคโนฯ ลาดกระบัง และหน่วยบริหารและบพท.จับมือท้องถิ่น 6 เมืองใหญ่ ระดมความเห็นประชาชนวิจัย สร้างแพลทฟอร์ม  “Hackable City” สำหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมและพัฒนาเมือง

 

          รายงานข่าวจากเทศบาลนครยะลา แจ้งว่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)ประจำปีงบประมาณ 2565 ได้ร่วมกับเทศบาลนครยะลา,เทศบาลนครสกลนคร,เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด,เทศบาลนครระยอง,เทศบาลเมืองน่านและกรุงเทพมหานคร สำรวจความคิดเห็นประชาชนและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อศึกษาวิจัยโครงการออกแบบแฟลตฟอร์ม “เมืองแฮกได้” (Hackable City) อันเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมเมือง ทั้ง 6 ที่เข้าร่วมโครงการ และคัดเลือกไปสู่ใช้สร้างพื้นที่ทดสอบนำร่องอย่างน้อย 1 พื้นที่

โครงการวิจัยเรื่อง เมืองแฮคได้ เป็นแพลตฟอร์ม มุ่งเน้นประเด็นการค้นหารูปแบบ กิจกรรม และพื้นที่ร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนา เมืองใน  6 ประเด็นหลักคือ  (1) อัตลักษณ์ของแต่ละเมือง   (2) การพัฒนาคุณภาพชีวิต  (3) การพัฒนาเศรษฐกิจสองข้างทาง  (4) การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design)  (5) การเดินทางในเมืองที่เหมาะสม และ(6) พื้นที่สาธารณะของเมือง

 

ม.เทคโนฯลาดกระบัง-บพท.ร่วม 6 เมืองใหญ่ ระดมความเห็นสร้างแพลทฟอร์ม “Hackable City”แพลทฟอร์ม “เมืองแฮกได้”   

 

          สำหรับการสร้างแฟลตฟอร์มเมืองแฮกได้ หรือ “Hackable City” เป็นแนวคิดที่กำลังได้รับความนิยมในหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เป็นแฟลตฟอร์มที่นำมาใช้เพื่อสำรวจความคิดเห็นและกระบวนการทำงานร่วมกันของพลเมืองเพื่อออกแบบการพัฒนาเมืองในยุคดิจิทัล สามารถจัดระเบียบปัญหาของชุมชนเมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและรวมถึงการให้บริการเชิงรุกได้อย่างรวดเร็ว

 

          ในประเทศไทยมีการใช้แฟลตฟอร์มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นรวมตลอดถึงข้อร้องเรียนของประชาชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมือง การออกแบบเมืองร่วมกัน เช่นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งนายชัชชาติ สิทธิพันธ์  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ผลักดันนโยบายสำคัญคือ Open Data : Open Bangkok เคลื่อนเมืองด้วยข้อมูลเปิดสาธารณะ เพื่อเปิดข้อมูลสำคัญของการบริหารราชการ ให้ประชาชนได้รับทราบ ร่วมตรวจสอบ และสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อต่อยอดการพัฒนาในมิติต่างๆ แบ่งเป็น 5 หมวดเนื้อหา คือ 1. Open Data การเปิดเผยข้อมูลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน 2. Open Contract การเปิดสัญญาจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ เพื่อแสดงความโปร่งใส 3. Open Policy ประสานเครือข่ายสร้างการมีส่วนร่วมเชิงนโยบาย 4. Open Innovation นวัตกรรมจากภาคประชาชนนำมาปรับใช้กับ กทม. และ 5. Open Service คือ การทำให้การทำงานบริการพื้นฐานของ กทม. มีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและดำเนินงาน

 

          หนึ่งกรณีตัวอย่างที่ถูกนำมาใช้นำร่องแล้ว คือแฟล็ตฟอร์ม ทราฟฟี่ ฟองดูว์ (Traffy Fondue) ซึ่งเป็น แอปพลิเคชันและไลน์ รับเรื่องร้องเรียน ในคอนเซ็ปต์ “รายงานปัญหาโดยประชาชน แก้ปัญหาโดย กทม.” ซึ่งได้รับความสนใจและสร้างการมส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองโดยประชาชนอย่างมาก รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบทำงานในกลไกราชการให้เปลี่ยนรูปแบบเดิมจากใช้ระบบการบริหารราชการแบบแนวดิ่งหรือสั่งการจากบนลงล่าง เป็นการกระจายระบบการสั่งการในแนวราบมากขึ้น รวมถึงการใช้แฟลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น “ปลูกอนาคต” เพื่อติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกร่วมกันในแคมเปญ ‘ปลูกต้นไม้ล้านต้น กับ ชัชชาติ’ และยังมีแนวทางที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มและนวัตกรรมอีกมากมายเพื่อนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ กทม. ภายใต้การดำเนินงานของ “คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายด้านเทคโนโลยีดิจิทัล” ที่กทม.ได้จัดตั้งขึ้น เช่นโครงการ Hack BKK อันเป็นแนวคิดการเคลื่อนเมืองด้วยนวัตกรรม เพื่อให้ประชาชนและข้าราชการได้มีส่วนร่วมในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนนโยบายและสนับสนุนให้พลเมืองแข่งขันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่

 

          แฮกกาธอน (Hackathon) มีที่มาจากการรวมคำว่า “แฮก (Hack)” ซึ่งในที่นี้ หมายถึง การสร้างสิ่งใหม่ กับ “มาราธอน (Marathon)” ที่หมายถึง การทำงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพักเหมือนกับการแข่งขันวิ่งมาราธอน รวมกันแล้วให้ความหมายถึง การสร้างสิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ เป็นกิจกรรมการแข่งขันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ภายใต้โจทย์ที่ได้รับ

นอกเหนือจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีที่เทศบาลนครยะลา ที่ได้มีนโยบายเมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ทซิตี้ มีการใช้แฟลตฟอร์มบนแอฟพลิเคชั่นไลน์ ในการรับเรื่องร้องเรียน, การเสียภาษี, การดูแลสิ่งแวดล้อม,การดูแลต้นไม้,และสุขภาพ ล่าสุดเทศบาลนครยะลาได้มีการจัดการแข่งขัน ยะลาแฮคกะตอน (Yala Hackathon) ครั้งที่ 1 เมื่อปลายเดือนตุลาคม2565 ที่ผ่านมา เป็นโครงการเปิดโอกาสให้เยาวชนในนครยะลา แข่งขันการคิดนวัตกรรมใหม่ หรือแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เพื่อสร้างนครยะลาไปสู่สมาร์ท ซิตี้

 

          โดยนายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา ได้เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดการแข่งขันแฮคกะตอน (Hackathon) และคงเป็นการจุดประกายให้กับหน่วยงานอื่นๆ อีกด้วย โดยเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบ เพื่อเทศบาลฯ สามารถที่จะนำไปใช้ในวันข้างหน้า สามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้หา Solution หรือจะหาคำตอบอย่างไรเพื่อตอบโจทย์เมืองที่สร้างโอกาส เมืองที่มีสมรรถนะ ทำให้ให้เมืองสามารถพัฒนาและพาให้ประชาชนขับเคลื่อนต่อไปได้ และผลการแข่งขันทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือทีม CrescTech ด้วยหัวข้อการพัฒนาเกี่ยวกับ Orderly บริการซักผ้าเดลิเวอรี่ รับ-ส่งถึงหน้าบ้าน

 

          นอกเหนือจากเทศบาลนครยะลาแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรม Hacking the City ขึ้นที่เทศบาลนครขอนแก่นและเทศบาลนครลำปาง โดยร่วมกับ Depa ภายใต้โครงการ Depa Smart City Accelerator Batch 2 ในช่วงเดือนกันยายน 2565 ซึ่งเป็นการนำเหล่าสตาร์ทอัพ เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารเทศบาลนครทั้งสองแห่ง ในการปูพื้นฐานไปสู่การแข่งขันด้านนวัตกรรม ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเมืองในอนาคตอีกด้วย 

                                    ………………………………………………..

 

 

 

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

นครสกลนคร จัดแข่งวิชาการท้องถิ่น ระดับประเทศ ปี 2568

นครสกลนคร จัดแข่งวิชาการท้องถิ่น ระดับประเทศ ปี 2568

ทน.สกลนคร จับมือ สถ. จัดงานแข่งขันทักษะวิชาการและงานมหก…

schedule
เปิด! ศูนย์การแพทย์เทศบาลเมืองลาดสวาย พร้อมดูแลสุขภาพประชาชนถ้วนหน้า ‘หน่อง-ปลื้มจิตร์’ ร่วมเผยเทคนิคดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และการฟื้นฟูร่างกาย
ภท. เปิดเวทีเวิร์กชอป เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.บ้านเกิดเมืองนอน

ภท. เปิดเวทีเวิร์กชอป เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.บ้านเกิดเมืองนอน

ภท. เปิดเวทีเวิร์กชอป เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.บ้านเกิดเมือ…

schedule
“อบจ.” อำนาจเงียบที่ทรงอิทธิพล

“อบจ.” อำนาจเงียบที่ทรงอิทธิพล

ความสำคัญของ อบจ. ผู้มีอำนาจสุดแกร่งและทรงอิทธิพล ด้วยบ…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]