close

หน้าแรก

menu
search

นักวิชาการแนะ รัฐจริงจังคุมเข้มกฎหมายแยกขยะจากต้นทาง ยกโมเดลจากต่างประเทศแก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืน

schedule
share

แชร์

 จากกระแสการงดใช้ถุงพลาสติกตั้งแต่วันปีใหม่ที่ผ่านมา นับเป็นนโยบายแรกจากรัฐบาลที่ทำให้คนไทยตื่นตัวต่อการจัดการปัญหาขยะพลาสติกและผลกระทบจากขยะพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่นักวิชาการบางส่วนมองว่ารัฐบาลยังขาดความจริงใจในการแก้ปัญหาด้านการจัดการขยะ

  วันที่ 3 มกราคม 2563 นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า “นโยบายการคัดแยกขยะที่ต้นทางที่ไม่จริงจังของรัฐบาลเป็นสาเหตุของการล่มสลายในการจัดการปัญหาขยะในประเทศ

  1.การคัดแยกขยะเป็นเรื่องที่สำคัญ การที่ประชาชนทิ้งขยะโดยไม่ได้คัดแยก ทำให้ขยะที่คัดแยกได้มีปริมาณน้อยและช้ากว่าความต้องการของโรงงานดังนั้นการนำเข้าขยะสำเร็จรูปจึงตอบโจทย์ได้ดีกว่าจึงเป็นที่มาของการที่ราคาขยะตกต่ำซาเล้งเลยชอกช้ำไปตามๆกัน

  2.ประเทศในแถบยุโรปเกือบทุกแห่ง รัฐบาลจะออกกฏหมายให้แต่ละบ้านต้องแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ดังเช่นในประเทศเยอรมนีและเบลเยี่ยม รัฐบาลจะขอให้มีถังสำหรับแยกขยะประเภทต่างๆตั้งอยู่หน้าบ้าน4ถังมีสีต่างๆกันดังนี้ ถังสีดำสำหรับทิ้งขยะแห้งที่ย่อยสลายไม่ได้ทั่วไปเช่นไม้สำลี ทิชชู่เช็ดมือ,ถังสีน้ำตาลเรียกว่าถังbioสำหรับทิ้งเศษอาหาร ผลไม้ ,ถังสีเหลืองสำหรับทิ้งผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติคทั้งหมด,ถังสีเขียวสำหรับทิ้งกระดาษเก่ารวมทั้งกล่องกระดาษ สำหรับขยะประเภทขวดแก้ว กระป๋องจะถูกนำไปทิ้งในตู้คอนเทนเนอร์ที่ตั้งไว้แหล่งชุมชน ขยะขนาดใหญ่เช่นโต๊ะ เตียง ที่นอน เป็นต้น ต้องแจ้งเทศบาลมาเก็บเป็นครั้งคราวส่วนขยะชุมชนอันตราย เช่นหลอดนีออน ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปร์ เป็นต้นให้รวบรวมไปใส่ภาชนะไว้ที่ปั๊มน้ำมันซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่รัฐมารวบรวมไปจัดการอีกที

  3.วันไหนเจ้าของบ้านนำขยะผิดประเภทไปใส่ในถังขยะหน้าบ้าน เช่นเอาขยะเศษอาหารไปใส่ในถังขยะแห้ง เป็นต้น รถเก็บขยะของเทศบาลซึ่งจะมาเก็บรวบรวมขยะทุกวันในช่วงเช้าระหว่างเวลา06.00-07.00น.เมื่อเปิดเจอจะถ่ายรูปไว้และไม่เก็บขยะที่บ้านนั้นรวมทั้งจะไม่เก็บขยะในชุมชนในวันนั้นด้วยโดยจะมีหนังสือมาให้เจ้าของบ้านให้ไปเสียค่าปรับที่เทศบาล(ประมาณ 3000-5000 บาท)ขณะเดียวกันจะมีประกาศไปติดในชุมชนแจ้งสาเหตุของการไม่เก็บขยะในชุมชนในวันนั้นซึ่งอาจทำให้บ้านที่ทิ้งขยะผิดประเภทถูกชุมชนรุมประณามได้(Social sanction) ทำให้ทุกบ้านในชุมชนจะเคร่งครัดในการแยกขยะกันอย่างมากสิ่งที่ตามมาคือเกิดการแยกขยะกันทั้งประเทศ

  4.หลังจากนั้นรัฐบาลนำขยะแห้งทั้งหมดไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเข้าโรงไฟฟ้าขยะ(Waste to Energy),ขยะเปียกนำไปทำปุํยหมักขายให้ประชาชนในราคาถูก,ขยะประเภทอื่นๆนำไปรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ ส่วนขยะอันตรายนำไปฝังกลบอย่างปลอดภัย(Secured Landfill)

  5.ประเทศไทยเน้นการสร้างจิตสำนึกและการจัดรณรงค์ให้ประชาชนแยกขยะเป็นครั้งคราวซึ่งมีประชาชนจำนวนมากได้ทำการแยกขยะเช่นกัน แต่ระบบการเก็บรวบรวมขยะของรัฐเองกลับล้าสมัยไม่สามารถนำขยะดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้รวมทั้งที่ผ่านมารัฐไม่มีนโยบายหรือกฏหมายให้ประชาชนแยกขยะที่ต้นทางอย่างจริงจังแต่กลับไปเน้นการสร้างโรงคัดแยกขยะและการกำจัดขยะที่ปลายทางมากกว่าซึ่งทำได้ยากและต้องลงทุนสูง จึงเป็นสาเหตุของที่มาของกองภูเขาขยะจำนวนมากตามเทศบาลต่างๆ นั่นเอง”

  นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงนโยบานการลดใช้ถุงพลาสติกในประเทศว่า มีความย้อนแยงกับการที่รัฐบาลยินยอมให้มีการนำเข้าขยะพลาสติกจำนวนมากจากต่างประเทศเพื่อนำมารีไซเคิลเป็นพลาสติกราคาถูกที่ใช้งานได้ไม่กี่ครั้ง โดยกล่าวถึงสาเหตุที่ขยะพลาสติกถูกนำเข้าประเทศไทยได้จำนวนมาก ว่า

  1. กลางปี 2560 ประเทศจีนประกาศยกเลิกการนำเข้าขยะอุตสาหกรรมหรือขยะรีไซเคิลโดยเฉพาะเศษพลาสติกและกระดาษที่ยังไม่แปรรูป ดังนั้นประเทศที่เคยส่งขยะไปยังประเทศจีนเพื่อรีไซเคิล เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรปและอเมริกา เป็นต้นไม่สามารถนำเข้าประเทศจีนได้อีกต่อไปจึงมุ่งมายังประเทศในแถบอาเซี่ยนเนื่องจากกฎหมายไม่ได้มีความเข้มงวดมากนักแถมยังมีบางประเทศมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศด้วย

  2.ประเทศไทยมีคำสั่งคสช.ฉบับที่4/2559กำหนดให้โรงงานประเภท101(ปรับคุณภาพของเสียอันตราย),โรงงานประเภท 105(คัดแยกากของเสียอุตสาหกรรม)และโรงงานประเภท106 (รีไซเคิลกากอุตสากรรม)สามารถตั้งโรงงานได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีผังเมืองบังคับโดยเฉพาะโรงงานประเภท105และ106ไม่ต้องจัดทำรายงานอีไอเอและเพียงนำแค่รายละเอียดโครงการไปปิดประกาศที่สถานที่ราชการ 3แห่งหากประชาชนไม่คัดค้านในเวลาที่กำหนดไว้ก็สามารถออกใบอนุญาตหรือใบรง.4ได้เลย ดังนั้นโรงงานประเภทดังกล่าวจึงตั้งได้ไม่ยากนักเอื้อต่อการลงทุนซึ่งรัฐบาลหวังจะให้โรงงานดังกล่าวคัดแยกและรีไซเคิลขยะในประเทศให้มากที่สุดแต่ข้อเท็จจริงกลายเป็นโรงงานของต่างชาติที่ซื้อขยะจากต่างประเทศมารีไซเคิล

  3.ประเทศไทยไม่มีมาตรการหรือกฎหมายบังคับให้ประชาชนแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำเพียงแค่การรณรงค์สร้างจิตสำนึกเท่านั้นจึงไม่เกิดการแยกขยะที่ครัวเรือนเท่าที่ควร ขยะพลาสติกจึงถูกทิ้งปะปนไปกับสิ่งสกปรกต่างๆทำให้ขยะพลาสติกดังกล่าวไม่เป็นที่ต้องการของโรงงานรีไซเคิลเนื่องจากต้องไปสร้างโรงคัดแยก บดย่อยและทำความสะอาดพลาสติกอีกซึ่งยุ่งยากและต้นทุนสูง

  4.ประเทศไทยยังไม่ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ตามพรบ.การส่งออกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรพ.ศ.2522 ที่ห้ามการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ ดังนั้นหากเป็นเศษพลาสติกที่สะอาดไม่ปนเปื้อนมีขนาดไม่เกิน 2.0 เซนติเมตรซึ่งเป็นเงื่อนไขการนำเข้า ก็สามารถนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าได้นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลักลอบนำขยะเศษพลาสติกเข้าประเทศไทยผ่านทางท่าเรือแหลมฉบังจำนวนมากอีกด้วย

  5.ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ7.4เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ตั้งแต่ต้นปี ทำให้โรงงานรีไซเคิลในประเทศนำเข้าเศษพลาสติกได้มากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเศษพลาสติกในประเทศของต่างประเทศจะราคาถูกกว่า สามารถนำมาผลิตสินค้าได้เลย

  6.ดังนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงทรัพยากรฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขต้องทำงานร่วมกัน หาเจ้าภาพและกำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ ต่อไป

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]