close

หน้าแรก

menu
search

ม.เทคโนฯ ลาดกระบัง-บพท.ร่วม 6 เมืองใหญ่ ระดมความเห็นสร้างแพลทฟอร์ม “Hackable City”แพลทฟอร์ม “เมืองแฮกได้”  

schedule
share

แชร์

          ม.เทคโนฯ ลาดกระบัง และหน่วยบริหารและบพท.จับมือท้องถิ่น 6 เมืองใหญ่ ระดมความเห็นประชาชนวิจัย สร้างแพลทฟอร์ม  “Hackable City” สำหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมและพัฒนาเมือง

 

          รายงานข่าวจากเทศบาลนครยะลา แจ้งว่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)ประจำปีงบประมาณ 2565 ได้ร่วมกับเทศบาลนครยะลา,เทศบาลนครสกลนคร,เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด,เทศบาลนครระยอง,เทศบาลเมืองน่านและกรุงเทพมหานคร สำรวจความคิดเห็นประชาชนและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อศึกษาวิจัยโครงการออกแบบแฟลตฟอร์ม “เมืองแฮกได้” (Hackable City) อันเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมเมือง ทั้ง 6 ที่เข้าร่วมโครงการ และคัดเลือกไปสู่ใช้สร้างพื้นที่ทดสอบนำร่องอย่างน้อย 1 พื้นที่

โครงการวิจัยเรื่อง เมืองแฮคได้ เป็นแพลตฟอร์ม มุ่งเน้นประเด็นการค้นหารูปแบบ กิจกรรม และพื้นที่ร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนา เมืองใน  6 ประเด็นหลักคือ  (1) อัตลักษณ์ของแต่ละเมือง   (2) การพัฒนาคุณภาพชีวิต  (3) การพัฒนาเศรษฐกิจสองข้างทาง  (4) การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design)  (5) การเดินทางในเมืองที่เหมาะสม และ(6) พื้นที่สาธารณะของเมือง

 

ม.เทคโนฯลาดกระบัง-บพท.ร่วม 6 เมืองใหญ่ ระดมความเห็นสร้างแพลทฟอร์ม “Hackable City”แพลทฟอร์ม “เมืองแฮกได้”   

 

          สำหรับการสร้างแฟลตฟอร์มเมืองแฮกได้ หรือ “Hackable City” เป็นแนวคิดที่กำลังได้รับความนิยมในหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เป็นแฟลตฟอร์มที่นำมาใช้เพื่อสำรวจความคิดเห็นและกระบวนการทำงานร่วมกันของพลเมืองเพื่อออกแบบการพัฒนาเมืองในยุคดิจิทัล สามารถจัดระเบียบปัญหาของชุมชนเมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและรวมถึงการให้บริการเชิงรุกได้อย่างรวดเร็ว

 

          ในประเทศไทยมีการใช้แฟลตฟอร์มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นรวมตลอดถึงข้อร้องเรียนของประชาชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมือง การออกแบบเมืองร่วมกัน เช่นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งนายชัชชาติ สิทธิพันธ์  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ผลักดันนโยบายสำคัญคือ Open Data : Open Bangkok เคลื่อนเมืองด้วยข้อมูลเปิดสาธารณะ เพื่อเปิดข้อมูลสำคัญของการบริหารราชการ ให้ประชาชนได้รับทราบ ร่วมตรวจสอบ และสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อต่อยอดการพัฒนาในมิติต่างๆ แบ่งเป็น 5 หมวดเนื้อหา คือ 1. Open Data การเปิดเผยข้อมูลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน 2. Open Contract การเปิดสัญญาจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ เพื่อแสดงความโปร่งใส 3. Open Policy ประสานเครือข่ายสร้างการมีส่วนร่วมเชิงนโยบาย 4. Open Innovation นวัตกรรมจากภาคประชาชนนำมาปรับใช้กับ กทม. และ 5. Open Service คือ การทำให้การทำงานบริการพื้นฐานของ กทม. มีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและดำเนินงาน

 

          หนึ่งกรณีตัวอย่างที่ถูกนำมาใช้นำร่องแล้ว คือแฟล็ตฟอร์ม ทราฟฟี่ ฟองดูว์ (Traffy Fondue) ซึ่งเป็น แอปพลิเคชันและไลน์ รับเรื่องร้องเรียน ในคอนเซ็ปต์ “รายงานปัญหาโดยประชาชน แก้ปัญหาโดย กทม.” ซึ่งได้รับความสนใจและสร้างการมส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองโดยประชาชนอย่างมาก รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบทำงานในกลไกราชการให้เปลี่ยนรูปแบบเดิมจากใช้ระบบการบริหารราชการแบบแนวดิ่งหรือสั่งการจากบนลงล่าง เป็นการกระจายระบบการสั่งการในแนวราบมากขึ้น รวมถึงการใช้แฟลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น “ปลูกอนาคต” เพื่อติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกร่วมกันในแคมเปญ ‘ปลูกต้นไม้ล้านต้น กับ ชัชชาติ’ และยังมีแนวทางที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มและนวัตกรรมอีกมากมายเพื่อนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ กทม. ภายใต้การดำเนินงานของ “คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายด้านเทคโนโลยีดิจิทัล” ที่กทม.ได้จัดตั้งขึ้น เช่นโครงการ Hack BKK อันเป็นแนวคิดการเคลื่อนเมืองด้วยนวัตกรรม เพื่อให้ประชาชนและข้าราชการได้มีส่วนร่วมในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนนโยบายและสนับสนุนให้พลเมืองแข่งขันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่

 

          แฮกกาธอน (Hackathon) มีที่มาจากการรวมคำว่า “แฮก (Hack)” ซึ่งในที่นี้ หมายถึง การสร้างสิ่งใหม่ กับ “มาราธอน (Marathon)” ที่หมายถึง การทำงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพักเหมือนกับการแข่งขันวิ่งมาราธอน รวมกันแล้วให้ความหมายถึง การสร้างสิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ เป็นกิจกรรมการแข่งขันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ภายใต้โจทย์ที่ได้รับ

นอกเหนือจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีที่เทศบาลนครยะลา ที่ได้มีนโยบายเมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ทซิตี้ มีการใช้แฟลตฟอร์มบนแอฟพลิเคชั่นไลน์ ในการรับเรื่องร้องเรียน, การเสียภาษี, การดูแลสิ่งแวดล้อม,การดูแลต้นไม้,และสุขภาพ ล่าสุดเทศบาลนครยะลาได้มีการจัดการแข่งขัน ยะลาแฮคกะตอน (Yala Hackathon) ครั้งที่ 1 เมื่อปลายเดือนตุลาคม2565 ที่ผ่านมา เป็นโครงการเปิดโอกาสให้เยาวชนในนครยะลา แข่งขันการคิดนวัตกรรมใหม่ หรือแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เพื่อสร้างนครยะลาไปสู่สมาร์ท ซิตี้

 

          โดยนายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา ได้เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดการแข่งขันแฮคกะตอน (Hackathon) และคงเป็นการจุดประกายให้กับหน่วยงานอื่นๆ อีกด้วย โดยเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบ เพื่อเทศบาลฯ สามารถที่จะนำไปใช้ในวันข้างหน้า สามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้หา Solution หรือจะหาคำตอบอย่างไรเพื่อตอบโจทย์เมืองที่สร้างโอกาส เมืองที่มีสมรรถนะ ทำให้ให้เมืองสามารถพัฒนาและพาให้ประชาชนขับเคลื่อนต่อไปได้ และผลการแข่งขันทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือทีม CrescTech ด้วยหัวข้อการพัฒนาเกี่ยวกับ Orderly บริการซักผ้าเดลิเวอรี่ รับ-ส่งถึงหน้าบ้าน

 

          นอกเหนือจากเทศบาลนครยะลาแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรม Hacking the City ขึ้นที่เทศบาลนครขอนแก่นและเทศบาลนครลำปาง โดยร่วมกับ Depa ภายใต้โครงการ Depa Smart City Accelerator Batch 2 ในช่วงเดือนกันยายน 2565 ซึ่งเป็นการนำเหล่าสตาร์ทอัพ เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารเทศบาลนครทั้งสองแห่ง ในการปูพื้นฐานไปสู่การแข่งขันด้านนวัตกรรม ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเมืองในอนาคตอีกด้วย 

                                    ………………………………………………..

 

 

 

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]