เทศบาลเมืองมหาสารคามขับเคลื่อนสู่เมืองอัจฉริยะโดยสร้างสุขภาวะเพื่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนภายใต้การสนับสนุนจากสสส. กำหนดเป้าหมาย เพื่อยกระดับเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการสุขภาวะชุมชนเขตเมือง พัฒนาให้เป็นชุมชนท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการรู้รับปรับตัว 9 ด้านพร้อมสร้างต้นแบบและบุคคลต้นแบบกระตุ้นการขับเคลื่อนให้มีประสิทธิภาพ
นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม กล่าวว่า เทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้จัดทำโครงการสร้างสุขภาวะเพื่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนจากสสส. กำหนดเป้าหมาย เพื่อยกระดับเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการสุขภาวะชุมชนเขตเมือง พัฒนาให้เป็นชุมชนท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการรู้รับปรับตัว 9 ด้าน คือ 1. เพิ่มพื้นที่ในการออกกำลังกายในชุมชน 2. จัดตั้งให้มีกลุ่มเฝ้าระวังความรุนแรงในครอบครัว ในโรงเรียน และจัดตั้งพัฒนาศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) 3. เพิ่มพื้นที่สาธารณะในชุมชนสร้างอาหารปลอดสารพิษ 4. จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ศูนย์ และมีนวัตกรรมการจัดระบบการดูแลเด็กใน ศพด. ของเด็กอายุ 0- 3 ปี 5.จัดการขยะมูลฝอย สร้างเครือข่ายในชุมชน เกิดชุมชนต้นแบบ Zero Waste 6.สร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ มีแอปพลิเคชันติดตามการดูและผู้สูงอายุในพื้นที่
7.พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตั้งศูนย์อบรมอาชีพ ศูนย์จำหน่ายสินค้า และหลักสูตรอบรมทักษะอาชีพต้นแบบ 8.การจัดการภัยพิบัติ พัฒนาทักษะ และศูนย์ประสานงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยเหลือในชุมชน จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคร (อาสาเคลื่อนที่เร็ว) 9.สร้างชุมชนปลอดบุหรี่และลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ สร้างชุมชนปลอดภัย และสร้างต้นแบบและบุคคลต้นแบบสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
“เทศบาลเมืองมหาสารคาม มีเป้าหมายขับเคลื่อนสู่การเป็น “Smart City” เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของชุมชนท้องถิ่นที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน แม้การอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้หลายคนมองว่าชีวิตสะดวกสบาย เพราะใกล้กับ “การพัฒนา” แต่หารู้ไม่ว่า…ชีวิตคนเมืองที่เราเห็นๆ ก็ยังต้องเผชิญปัญหาสุขภาพที่แทบไม่แตกต่างกับท้องถิ่นรูปแบบอื่น โดยเฉพาะในวันที่เมืองกำลังก้าวสู่ความเจริญเติบโตด้านวัตถุอย่างจริงจัง บางครั้งก็เป็นเหรียญสองด้าน เพราะอาจส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตบางมิติของคนเมืองค่อยๆ หดหายไปด้วย เช่นเดียวกับ “เมืองมหาสารคาม” ที่ปัจจุบันกำลังก้าวเป็นเมืองเติบใหญ่ และเป็นหลักชัยสำคัญของจังหวัดมหาสารคาม โดยการก้าวสู่ความเป็น “Smart City” เพื่อปลุกปั้นให้เมืองมหาสารคามเป็นเมืองน่าอยู่ ในวันนี้จึงยกระดับเป็นต้นแบบเมืองที่ถูกปลุกปั้นสู่ “เมืองชุมชนสุขภาวะ” แห่งแรกที่เกิดขึ้นด้วยการสานพลังร่วมกันของทุกภาคส่วน ภายใต้โครงการสร้างสุขภาวะเพื่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนเทศบาลเมืองมหาสารคาม” นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม กล่าว
คนเมืองมหาสารคามประกาศปฏิญญาขับเคลื่อนสู่เมืองอัจฉริยะ จึงเป็นพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างเทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 5 แห่ง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ที่สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ อ.เมือง จ.มหาสารคาม มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นต้นแบบจัดการสุขภาวะชุมชนเขตพื้นที่เมือง ก่อนก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เต็มตัวในอนาคต
นายเกียรติศักดิ์ กล่าวว่า การกำหนดทิศทางขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชนเมือง พัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพของชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงการทำงานร่วมกันระหว่างเทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย จำนวน 5 แห่ง และ สสส. เป็นการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีของหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้กลไกการร่วมมือของสถาบันวิชาการ ผู้นำชุมชนกลุ่มองค์กรทางสังคม ภาคธุรกิจและเครือข่าย ช่วยเสริมสร้างการทำงานที่ดีให้คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลร่วมกันจนเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ,สังคม ,ศาสนา ,ศิลปวัฒนธรรม,ท่องเที่ยวและการกีฬา,พัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานการศึกษา,การบริหารงานองค์กร,พัฒนาชีวิตและความปลอดภัยความเข้มแข็งของชุมชน นำเทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสาร สนเทศเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชนให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน กล่าวว่า สสส. ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น การลงนามความร่วมมือฯ ครั้งนี้ มีเป้าหมายเสริมประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะยกระดับการพัฒนาพื้นที่ให้ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีสุข พร้อมทั้งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสามารถปรับตัวตามสภาวะการที่เกิดขึ้น ให้เป็นเมืองที่มีความน่าอยู่ น่าอาศัย น่าลงทุน นำสมัยมุ่งสู่การเป็นเมือง Smart City
โดยร่วมกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายฯ ดำเนินการ 3 ด้าน 1. สร้างการเรียนรู้ให้กับผู้บริหารท้องถิ่น ,ผู้นำชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ ให้มีขีดความสามารถในการจัดการสุขภาวะชุมชน 2.พัฒนาระบบข้อมูล เพื่อใช้วางแผนการพัฒนาและปรับระบบบริการให้สามารถเข้าถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น 3.พัฒนานวัตกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการกำหนดนโยบายสาธารณะและนวัตกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ