close

หน้าแรก

menu
search

ดีป้าหนุนท้องถิ่น-เอกชนผลิตนวัตกรรมพัฒนาเมือง ทน.ยะลา-ทน.นครศรีธรรมราชคว้า 2 รางวัลชนะเลิศ

schedule
share

แชร์

          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) มอบรางวัล Smart City Solutions Awards 2022 รวม 20 รางวัล เดินหน้าหนุน เอกชน ท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐ ผลิตนวัตกรรมพัฒนาเมือง โครงการ “หลาดยะลา” ของเทศบาลนครยะลา คว้ารางวัลชนะเลิศ Smart Economy ส่วนโครงการ “ร้องทุกข์ออนไลน์” ของเทศบาลนครศรีธรรมราช คว้ารางวัลชนะเลิศ Smart Governance  

 

          เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้า ได้จัดพิธีมอบรางวัล Smart City Solutions Awards 2022 แก่ตัวแทนองค์กรบริษัทเอกชน หน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ซึ่งมีรางวัลชนะเลิศ รวม 20 รางวัล จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดรวม 57 ผลงาน

 

          ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้า กล่าว ว่าโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างดีป้า และหน่วยงานพันธมิตรที่ต้องการให้ความสำคัญกับประชาชนที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา พร้อมการสร้างระบบนิเวศน์ที่สามารถทำให้เกิดความร่วมมือในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน อันสามารถเป็นกลไกในการยกระดับศักยภาพให้กับกำลังคนและบุคลากรที่มีองค์ความรู้และกระบวนความคิดเชิงระบบให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน เพื่อตอบรับโอกาสที่มีอยู่ในกระแสโลกสมัยใหม่

 

ดีป้าหนุนท้องถิ่น-เอกชนผลิตนวัตกรรมพัฒนาเมือง ทน.ยะลาและนครศรีธรรมราชคว้า 2 รางวัลชนะเลิศ

 

          รวมไปถึงทักษะจำเป็นในการนําดิจิทัลเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในหน่วยงานของตนให้เป็นประโยชน์มุ่งเน้นการสร้างสรรค์งานประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในบริการอัจฉริยะซึ่งเป็นระบบบริการที่ดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1.ด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ(Smart Economy) 2.ด้านพลังงานอัจฉริยะ(Smart Energy) 3.ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ(Smart Environment) 4.ด้านการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)5.ด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ(Smart Living) 6.ด้านการขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) และ7.ด้านพลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) โดยในปีนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 57 ผลงาน และมีผลงานที่ได้รับรางวัลในแต่ละด้านรวม 20 ผลงาน

 

          สำหรับรางวัลผู้ชนะเลิศจำนวนทั้งสิ้น 20 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลชนะเลิศ 7 ผลงาน และรางวัลชมเชย13 ผลงาน ประกอบด้วย 1. ด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)  รางวัลชนะเลิศ  ผลงานคือ หลาดยะลา (Yala Market) ของเทศบาลนครยะลา ,รางวัลชมเชย  ผลงานคือ การส่งเสริมตลาดเกษตรกรออนไลน์ “สดจากฟาร์มเสิร์ฟจากเว็บ” ของสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม

 

ดีป้าหนุนท้องถิ่น-เอกชนผลิตนวัตกรรมพัฒนาเมือง ทน.ยะลาและนครศรีธรรมราชคว้า 2 รางวัลชนะเลิศ

 

          2. ด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) รางวัลชนะเลิศ  ผลงานคือ  Smart Grid  ของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,รางวัลชมเชย  ผลงาน Smart IoT Street Lighting (โคมไฟถนนอัจฉริยะ)  ของ บริษัท จัมโบ้ อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด  3. ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) รางวัลชนะเลิศ ผลงานคือ Chula Zero Waste  ของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,รางวัลชมเชย  ผลงานคือ ระบบแสดงข้อมูลการตรวจสอบอาหารทะเลปลอด ฟอร์มาลิน ของเทศบาลเมืองแสนสุข

 

ดีป้าหนุนท้องถิ่น-เอกชนผลิตนวัตกรรมพัฒนาเมือง ทน.ยะลาและนครศรีธรรมราชคว้า 2 รางวัลชนะเลิศ

 

          4. ด้านการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) รางวัลชนะเลิศ  ผลงานคือ ระบบรับและบริหารจัดการ เรื่องร้องทุกข์ออนไลน์  ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และผลงาน การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (ศูนย์บริการร่วม One stop service) ของเทศบาลตำบลบ้านกลาง ,รางวัลชมเชย ผลงานคือ โครงข่ายนครสวรรค์เมืองอัจฉริยะ (Super Node) ของเทศบาลนครนครสวรรค์ และผลงานคือโครงการให้บริการประชาชนสู่ความพึงพอใจอันสูงสุดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล Buakkhang E-Service(Smart Governance) ของเทศบาลตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง

 

          5. ด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) รางวัลชนะเลิศ ผลงานคือ โครงการรับรองความพิการแบบเบ็ดเสร็จ R8:NDS :NAWANG Model ของโรงพยาบาลนาวังเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา,รางวัลชมเชย ผลงานคือ ระบบเฝ้าระวังระดับน้ำในลำคลอง ป้องกันเหตุ อุทกภัย ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ,ผลงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีภาวะพึ่งพิงโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบของ Smart Care (ริสแบนด์อัจฉริยะ) ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม ,ผลงาน EMS 365 องศา พิกัดชีวิต พิกัดฉุกเฉิน ของเทศบาลตำบลท่าคันโท ,ผลงานโครงการ Application LTC SMART YANGNOENG ของเทศบาลตำบลยางเนิ้ง  และผลงานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ของเทศ บาลตำบลป่าสัก

 

          6. ด้านขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) รางวัลชนะเลิศ ผลงานคือ เวียบัส (ViaBus) แพลตฟอร์มขนส่งโดยสารประจำทาง ของบริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย)จำกัด ,รางวัลชมเชย ผลงาน Muvmi : EV tuk-tuk Sharing ของ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 7. ด้านพลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) รางวัลชมเชย ผลงานคือนวัตกรรมสร้างสุข Pangmu Smart Kids และ ผลงานระบบบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอัจฉริยะ ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู จังหวัดแม่ฮ่องสอน ,ผลงานโครงการการพัฒนาหลักสูตรสำหรับวิทยากรต้นแบบ (Master teacher) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในสถานการณ์นิวนอร์มัล (Smart People) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร

             

ดีป้าหนุนท้องถิ่น-เอกชนผลิตนวัตกรรมพัฒนาเมือง ทน.ยะลาและนครศรีธรรมราชคว้า 2 รางวัลชนะเลิศ

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

มท. ประกาศยกฐานะ “นครบางบัวทอง” อย่างเป็นทางการ

มท. ประกาศยกฐานะ “นครบางบัวทอง” อย่างเป็นทางการ

มท. ออกประกาศยกระดับฐานะจาก “เทศบาลเมืองบางบัวทอง” สู่ …

schedule
สุดยิ่งใหญ่พิธีเปิด “นนทบุรีเกมส์ 2024”

สุดยิ่งใหญ่พิธีเปิด “นนทบุรีเกมส์ 2024”

อบจ.นนทบุรีจัดใหญ่กว่า 5 พันชีวิต ร่วมพิธีเปิดการแข่งขั…

schedule
สมาคมสันนิบาตปลุกพลัง คิดไกล คิดใหม่ เพื่อชาวเทศบาล

สมาคมสันนิบาตปลุกพลัง คิดไกล คิดใหม่ เพื่อชาวเทศบาล

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย จัดการประชุมและการสัมม…

schedule
อบจ.นนทบุรี พร้อม! เจ้าภาพรอบคัดเลือกภาคกลาง “นนทบุรีเกมส์”

อบจ.นนทบุรี พร้อม! เจ้าภาพรอบคัดเลือกภาคกลาง “นนทบุรีเกมส์”

อบจ.นนทบุรี ประกาศความพร้อมเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬานักเ…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]