close

หน้าแรก

menu
search

ครม. มีมติอนุมัติโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) 2 โครงการ

schedule
share

แชร์

       ตามที่ รัฐบาลได้จัดทำ”แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565″ เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาภาคคมนาคมขนส่งของประเทศ ในระยะ 8 ปี ประกอบด้วย 5 แผนงานหลัก คือ 1) แผนงานการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2) แผนงานการพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) แผนงานการเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 4) แผนงานการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ 5) แผนงานการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ

       ทั้งนี้ เพื่อสร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง สร้างโอกาสจากการเป็นประชาคมอาเซียน ตามเป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการเดินทางและการขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีนโยบายเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งให้เข้าสู่ระบบรางมากขึ้น แต่เดิมทางรถไฟทั่วประเทศเป็นขนาดราง 1 เมตร จำนวน 4,043 กม. เป็นรถไฟทางเดี่ยว 91% ทางคู่หรือทางสามเพียง 9% ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รถไฟทางเดี่ยวต้องรอสับหลีกทั้งขบวนสินค้าและขบวนผู้โดยสาร ซึ่งทำให้การเดินรถล่าช้า เมื่อทางคู่ทั้งหมดแล้วเสร็จ ปัญหานี้จะหมดไป

       สำหรับจุดศูนย์กลางของการขนส่งทางราง ซึ่งปัจจุบันใช้สถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นหลัก แต่เนื่องจากปริมาณการจราจรใจกลางเมืองจะเพิ่มขึ้นทุกปี มีจุดตัดของรถไฟกับถนนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาการจราจร โดยเฉพาะในช่วงเวลาชั่วโมงเร่งด่วนเช้า-เย็น กระทรวงคมนาคม จึงพัฒนา “สถานีกลางบางซื่อ” ให้เป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมต่อการเดินทาง และได้ขับเคลื่อนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) เป็นการยกระดับสนามบินอู่ตะเภามาเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ให้ทำงานควบคู่กับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ และเป็นการเปิดพื้นที่การพัฒนาจากกรุงเทพฯ เชื่อมไปยังฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ขับเคลื่อนเดินหน้าพร้อมทั้งเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในไทย

       เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ครม. มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) รวม 2 โครงการ คือ

  1. โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี
  2. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต

       ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 อนุมัติดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนต่อขยายของรถไฟชานเมืองสายสีแดงทางฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานครที่จะเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีตลิ่งชันไปยังบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเส้นทางรถไฟของช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระที่สถานีจรัญสนิทวงศ์ และเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ที่สถานีศิริราช ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางเข้าออกพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งจะมีการออกแบบโครงสร้างอาคารผู้ป่วยเพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้ที่จะเดินทางมายังโรงพยาบาลศิริราช ในอนาคตจะมีการนำระบบตั๋วร่วมมาใช้กับรถไฟสายดังกล่าวอีกด้วย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

มท. ประกาศยกฐานะ “นครบางบัวทอง” อย่างเป็นทางการ

มท. ประกาศยกฐานะ “นครบางบัวทอง” อย่างเป็นทางการ

มท. ออกประกาศยกระดับฐานะจาก “เทศบาลเมืองบางบัวทอง” สู่ …

schedule
สุดยิ่งใหญ่พิธีเปิด “นนทบุรีเกมส์ 2024”

สุดยิ่งใหญ่พิธีเปิด “นนทบุรีเกมส์ 2024”

อบจ.นนทบุรีจัดใหญ่กว่า 5 พันชีวิต ร่วมพิธีเปิดการแข่งขั…

schedule
สมาคมสันนิบาตปลุกพลัง คิดไกล คิดใหม่ เพื่อชาวเทศบาล

สมาคมสันนิบาตปลุกพลัง คิดไกล คิดใหม่ เพื่อชาวเทศบาล

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย จัดการประชุมและการสัมม…

schedule
อบจ.นนทบุรี พร้อม! เจ้าภาพรอบคัดเลือกภาคกลาง “นนทบุรีเกมส์”

อบจ.นนทบุรี พร้อม! เจ้าภาพรอบคัดเลือกภาคกลาง “นนทบุรีเกมส์”

อบจ.นนทบุรี ประกาศความพร้อมเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬานักเ…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]