คณะอนุกรรมการด้านการเงินฯ ก.ก.ถ. เห็นชอบกำหนดสัดส่วนรายได้ อปท. ปี 2566 ยอดรวม 7.47 แสนล้าน เป็น อปท.จัดเก็บเอง 40.6 หมื่นล้าน รัฐเก็บให้ 2.16 แสนล้าน รัฐแบ่งให้ 1.21 แสนล้าน และเงินอุดหนุน 3.65 แสนล้าน
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ที่ห้องประชุม 108 ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ในการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงิน การคลัง และงบประมาณ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) ครั้งที่ 3/2564 มีผลการประชุม ดังนี้
- ที่ประชุมรับทราบ เรื่อง
1.1 ประกาศ ก.ก.ถ. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรภาษีและเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1.2 การกำหนดแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
1.3 แนวทางการจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจด้านการป้องกันและควบคุมไฟป่าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.4 การดำเนินการถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.5 ข้อสังเกตการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วุฒิสภา
- ที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่อง
2.1 งบประมาณสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น (มติ : เห็นชอบให้เงินอุดหนุนรายการนี้ยังคงตั้งไว้ที่ สถ. และยังคงเป็นการเบิกจ่ายแทนกันระหว่าง สถ. กับ สปสช. ตามกฎหมายและข้อตกลงตามที่เคยปฏิบัติ ทั้งนี้ สงป. ควรจัดสรรงบประมาณรายการดังกล่าวให้ครบถ้วนตามจำนวนข้าราชการท้องถิ่นที่ถ่ายโอน จำนวนข้าราชการที่บรรจุใหม่ และอัตราการใช้บริการต่อคนต่อปี)
2.2 การกำหนดสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (มติ : เห็นชอบการกำหนดรายได้ของ อปท. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล (โดยประมาณการรายได้สุทธิของรัฐบาล จำนวน 2,490,000 ล้านบาท) ในอัตราร้อยละ 30 หรือคิดเป็นจำนวน 747,000 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง จำนวน 40,608.81 ล้านบาท, รายได้ที่รัฐเก็บให้ จำนวน 219,095.73 ล้านบาท, รายได้ที่รัฐแบ่งให้ จำนวน 121,397.94 ล้านบาท และเงินอุดหนุน จำนวน 365,897.52 ล้านบาท)
2.3 หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (มติ : เห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรเงินเงินอุดหนุนฯ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดยจะต้องมีสัดส่วนเงินอุดหนุนทั่วไปมากกว่าเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ, อปท.ที่เสนอคำขอตั้งงบประมาณไปยัง สงป. โดยตรง ได้แก่ กทม., เมืองพัทยา, อบจ., เทศบาลนคร (ทน.) และเทศบาลเมือง (ทม.) ส่วน อปท.ที่เสนอขอตั้งงบประมาณผ่าน สถ. ได้แก่ เทศบาลตำบล (ทต.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และการเสนอขอตั้งงบประมาณไว้ที่หน่วยงานอื่น ได้แก่ สปน. และ สผ.)
2.4 ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามภารกิจถ่ายโอนประเภทเงินอุดหนุนทั่วไปที่กรุงเทพมหานครสำรองจ่าย (มติ : ให้ กทม. จัดทำตัวเลขที่ชัดเจนและนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาใหม่อีกครั้ง)
2.5 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขอความเห็นชอบจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (มติ : เห็นชอบให้จัดสรรเงินอุดหนุน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวม 6 รายการ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,748,000,000 บาท โดยคณะอนุกรรมการฯ ตั้งข้อสังเกตให้ สถ. รับไปพิจารณาดำเนินการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ควรมีความชัดเจน)
(ภาพจาก FB-Phairat Phatchrat)
- เรื่องอื่นๆ
3.1 รายละเอียดทางหลวงท้องถิ่นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้แก่ อปท. (มติ : รับทราบการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการถ่ายโอนทางหลวงชนบทให้กับ อปท. สภาผู้แทนราษฎร)
3.2 การประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งต่อไป (วันที่ 22 ธันวาคม 2564)
ในการนี้ ท่านอดีตนายกฯ บุญเลิศ น้อมศิลป์ ในฐานะอนุกรรมการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการจัดเก็บรายได้ (กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ที่ลดลง จนเป็นเหตุให้การจัดบริการสาธารณะแก่พี่น้องประชาชนได้รับผลกระทบตามไปด้วย และได้ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยรับไปแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้อง