กมธ.วิสามัญสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้อปท. เสนอผลักดันเพิ่มข้อกําหนดมาตรการบังคับหรือลงโทษกรณีที่หน่วยงานรัฐที่ไม่เร่งดำเนินการถ่ายโอนภารกิจตามที่กำหนดไว้ พร้อมชี้การถ่ายโอนภารกิจให้อปท.ต้องทำควบคู่กับการถ่ายโอนงบประมาณไปพร้อมกัน เพื่อประสิทธิภาพในการจัดทําบริการสาธารณะได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง พร้อมหนุนให้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจฉบับใหม่ พร้อมให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะ กิจกรรมสาธารณะ และหาแนวทางในการแก้ไขเรื่องการถ่ายโอนภารกิจ ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 8 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 65 ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งบรรจุในระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 4
โดยรายงานการพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะ กิจกรรมสาธารณะ และหาแนวทางในการแก้ไขเรื่องการถ่ายโอนภารกิจฯ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบุว่า ที่ผ่านมาแม้ว่าได้มีการดำเนินตามแผนการกระจายอํานาจฯ และแผนปฏิบัติการฯ ทั้งสองฉบับแล้ว แต่การกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทําบริการสาธารณะ กิจกรรมสาธารณะ แต่ปัจจุบันยังคงมีปัญหาที่ควรจะต้องได้รับการพิจารณาปรับปรุงแก้ไข้ โดยมีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือปฏิบัติ
พบว่าการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะ กิจกรรมสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีความชัดเจนของอํานาจหน้าที่และอํานาจในการจัดทําบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการอื่น ว่าบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะหรือภารกิจใดเป็นของรัฐบาลและส่วนราชการต้องทําหรือบริการสาธารณะใดเป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือบริการสาธารณะใดที่จะต้องทําร่วมกัน ซึ่งจะต้องกําหนดให้ชัดเจน
จากปัญหาความไม่ชัดเจนนี้ทําให้เกิดความซ้ำซ้อนในการดําเนินงาน ส่งผลกระทบต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถูกกล่าวหาว่าดําเนินการนอกเหนืออํานาจหน้าที่ทําให้ถูกเรียกเงินคืนจากสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบกับการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินแต่ละพื้นที่แต่ละเขตไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เนื่องจากความไม่ชัดเจนในการพิจารณาของหน่วยงานตรวจสอบและความไม่ชัดเจนของกฎหมาย
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เสนอแนวทางดําเนินการ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทและกฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอํานาจในการดําเนินการให้มีความสอดคล้องกันโดยกําหนดว่ารัฐบาล/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใครควรจัดทําบริการสาธาร ณะเรื่องอะไรและในเรื่องใด โดยการออกแบบกําหนดและจัดแบ่งภารกิจให้ชัดเจนตั้งแต่แรก ว่าภารกิจใดที่เป็นหน้าที่ของรัฐและรัฐควรทําและภารกิจใดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทําหรือมีศักยภาพที่จะทําได้หรือภารกิจใดที่จะต้องทําร่วมกันระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและ เกิดประสิทธิภาพ และมีความชัดเจนในเรื่องของการถ่ายโอนภารกิจต่าง ๆ
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผลักดันให้มีประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดขึ้นและให้มีผลบังคับใช้ โดยเร็ว โดยกำหนดอำนาจหน้าที่และภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบให้ชัดเจนสอดคล้องกับขนาด และบริบทพื้นที่แต่ละแห่ง
ด้านปัญหาการกระจายอำนาจและการถ่ายโอนภารกิจพบว่าสภาพปัญหาส่วนราชการเจ้าของภารกิจเดิมขาดเจตนา รมณ์และความมุ่งมั่นในการถ่ายโอนภารกิจให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ โดยหลายส่วนราชการการไม่มีการดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนการกระจายอำนาจและแผนปฏิบัติการการถ่ายโอนภารกิจ บางบริการสาธารณะที่มีการถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะภารกิจที่ใช้งบประมาณในการจัดบริการสาธารณะสูง เช่น ภารกิจโครงสร้างพื้นฐาน ราชการส่วนกลางไม่ได้ถ่ายโอนงบประมาณให้เพียงพอในภารกิจที่เพิ่มขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการในภารกิจได้ ปัญหาขาดงบประมาณที่ไม่สมดุลกับภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับ ทำให้ไม่สามารถจัดทําบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอและทั่วถึงรวมการขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแนวทางดําเนินการ ดังนี้ 1.ให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทและกฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีหน้าที่และอำนาจในการดําเนินการ โดยกําหนดมาตรการบังคับหรือลงโทษกรณีที่หน่วยงานรัฐไม่เร่งดำเนินการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ และผลักดันกฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจฉบับใหม่หรือร่างพระราชบัญญัติกําหนดกรอบและเป้าหมายการจัดทําบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. …. ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว
2. ภารกิจใดที่รัฐบาลเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรต้องทํา ต้องให้ส่วนราชการเดิมถ่ายโอนภารกิจนั้นให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องใดให้ถ่ายโอนงบประมาณไปพร้อมกัน เช่น การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล(รพ.สต.) สํานักงบประมาณต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอโดยการตัดงบประมาณจากส่วนราชการเดิมไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ควรควรตั้งงบประมาณในภารกิจที่ถ่ายโอนแล้วให้หน่วยงานเดิมอีก
เมื่อส่วนราชการการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วส่วนราชการนั้นควรลดบทบาทลง โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําภารกิจนั้นแทน โดยให้คงไว้เพียงทําหน้าที่ให้คําแนะนําช่วยเหลือ
คณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องดําเนินการจัดทํามาตรฐานการจัดบริการสาธารณะให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่กําหนดไว้
อย่างไรก็ตามจาการศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าปัญหาที่เกิดจากส่วนราชการเจ้าของภารกิจที่ทำให้มีความล่าช้า อาจจะอยู่เกี่ยวข้องกับประเด็นกิจการสาธารณะด้านความมั่นคงหรือ ไม่เนื่องจากหลักการถ่ายโอนบริการสาธารณะจะไม่ครอบคลุมถึงบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง จึงมีส่วนราชการหลายแห่งตีความบริการสาธารณะของตนว่าเป็นเรื่องความมั่นคงไม่สามารถถ่ายโอนได้ เช่น งานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจําตัวประชาชน งานดูแลการรับซื้อ/ขายของเก่าที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครองที่ไม่ให้มีการถ่ายโอน เนื่องจากเกี่ยวพันกับความมั่นคงซึ่งยังขาดการศึกษาทางนโยบายและการปฏิบัติงานว่าบริการสาธารณะที่อ้างว่าเกี่ยวข้องกับความมั่นคงนั้นเกี่ยวข้องอย่างไร และไม่มีการพิจารณาการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการนําตัวแปรด้านพื้นที่มาพิจารณาเพื่อแยกแยะภารกิจที่ถ่ายโอนในพื้นที่ที่ะมีปัญหาความมั่นคง กับพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาด้านความมั่นคง
ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ส่วนราชการเจ้าของภารกิจเสนอให้มีการถอนบัญชีภารกิจและงานที่จะต้องถ่ายโอนให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ส่วนราชการเจ้าของบริการสาธารณะยังตีความว่าภารกิจในความรับผิดชอบเป็นเรื่องทางเทคนิควิชาการ หรือการเชื่อมเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่อาจถ่ายโอนบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปดําเนินการได้ เช่น บริการสาธารณะการจดทะเบียนรถยนต์ ของกรมการขนส่งทางบก
กมธ.วิสามัญสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เสนอแนวทางดําเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้ 1.รัฐบาลควรเร่งรัดให้ส่วนราชการเดิมถ่ายโอนภารกิจที่เกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามแผนกระจายอำนาจฯ 2.ปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทและกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สามารถมีหน้าที่และอํานาจในการดําเนินการ 3.ส่งเสริมให้มีการบูรณาการรวมกันระหว่างส่วนราชการเจ้าของภารกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูล เช่น ข้อมูลด้านสาธารณสุข ข้อมูลด้านประชากร ฯลฯ
ส่วนปัญหาด้านโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจุบันจากความแตกต่างกันในเรื่องของขนาดบริบทพื้นที่ รวมถึงรายได้ เนื่องจากการออกแบบโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการออกแบบโครงสร้างที่ไม่คำนึงถึงในการจัดบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ ที่ต้องเป็นไปตามโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละประเภท ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารงานเพราะมีศักยภาพไม่เท่ากัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมีข้อจํากัดทั้งในเรื่องของบุคลากร และงบประมาณ ประกอบกับการกําหนดอํานาจหน้าที่ไว้ในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีขนาดใหญ่ มีศักยภาพในการบริหารงาน กฎหมายกําหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องดํา เนินการในภารกิจที่มีขนาดใหญ่ หรือภารกิจที่เป็นภาพรวมทั้งจังหวัดและภารกิจใดที่ท้องถิ่นขนาดเล็กไม่สามารถดําเนินการได้ก็ร้องขอให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้าไปดําเนินการแทนหรือสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการได้
กมธ.วิสามัญสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เสนอแนวทางดําเนินการ 1.ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทและกฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการ โดยออกแบบโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบให้มีขนาด บริบทพื้นที่ ให้เหมาะสมกับหน้าที่ เช่น การยกฐานะ หรือการควบรวมพื้นที่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงการกําหนดหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละรูปแบบว่ามีหน้าที่อะไรบ้างทั้งตามที่กฎหมายกําหนดและหน้าที่ใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนให้ทันกับสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยน แปลงไปโดยกําหนดรายได้ให้เพียงพอ
2. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทและกฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องของรายได้และที่มาของรายได้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นสามารถจัดทําบริการสาธารณะกิจกรรมสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกําหนดสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจนว่ามีรายได้ในเรื่องใด เพียงพอต่อการบริหารงานและลดการพึ่งพาจากภาครัฐลง เพื่อมีความเป็นอิสระในการบริหารงานมากขึ้น
3. กําหนดฐานภาษีรูปแบบใหม่ กําหนดที่มาของรายได้ และแหล่งรายได้ให้ชัดเจน โดยต้องพิจารณากฎหมายอื่นประกอบว่าเป็นภาษีหรือรายได้ที่ท้องถิ่นต้องได้รับหรือไม่ ทั้งนี้อาจกําหนดรายได้หลายประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต เช่น ภาษีการศึกษา,ภาษีสิ่งแวดล้อมและภาษีค่าธรรมเนียมสนามบิน 4.ควรจัดสรรงบประมาณการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ให้ทุกพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในแต่ละจังหวัด เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดในภาพรวม
5.ผลักดันให้มีกฎหมายรายได้ท้องถิ่นใช้บังคับเป็นการเฉพาะ 6.ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นส่งเสริมสนับสนุนการจัดทําโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทําบริการสาธารณะ กิจกรรมสาธารณะด้านต่าง ๆ โดยการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจให้เพียงพอ 7.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรต้องกําหนดแนวทางปฏิบัติในการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานให้ชัดเจน เช่น กรณีที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะให้การสนับสนุนท้องถิ่นขนาดเล็ก เช่น การสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษา หรือด้านอื่นๆ สามารถทําได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอนอย่างไร เพื่อไม่ให้ต้องถูกตรวจสอบในภายหลัง และ 8.ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกแบบโครงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกให้ทํางานได้ง่ายมีความคล่องตัว มีมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต มีระบบธรรมาภิบาล มีความยึดโยงกับประชาชน โดยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
นอกจากนั้นในส่วนของปัญหาด้านระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปัญหาเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้พื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น กมธ.วิสามัญสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอแนวทางไว้ดังนี้ 1. ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาปรับปรุง แก้ไขกฎหมายการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทและกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่และอํานาจในการดําเนินการจัดบริการสาธารณะในพื้นที่หน่วยงานอื่น
2. ให้หน่วยงานทีเกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ให้ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายนั้นด้วย เพื่อให้สามารถบริหารงานได้ เช่น กรณีกฎหมายจัดตั้งกําหนดให้ท้องถิ่น บํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอำนาจในการบริหารงาน หรือกรณีการขอที่ดินของกรมป่าไม้เพื่อทำถนนหรือบริการสาธารณะควรให้หน่วยงานเจ้าของพื้นที่กำหนดหลักเกณฑ์ขั้นตอนในการขออนุญาต หรือการอนุญาตอนุมัติง่ายขึ้นเพื่อไม่ให้เกดิความล่าช้าทันต่อการขอใช้งบประมาณในการจัดบริการสาธารณะนั้น
3. ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ อนุญาตให้ใช้พื้นที่ให้เป็นอำนาจระดับจังหวัด เพื่อให้การพิจารณามีความรวดเร็ว เช่น การขอใช้ที่สาธารณประโยชน์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมที่ดินเพื่อจัดทําบริการสาธารณะจะต้องปฏิบัติระเบียบกระทรวงมหาดไทยโดยการเสนอเรื่องให้รัฐมนตรีเห็นชอบก่อนซึ่งควรแก้ไขระเบียบดังกล่าวให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการให้ความเห็นชอบ
กมธ.วิสามัญสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอแนวทางการแก้ไข สำหรับปัญหาด้านบุคลากร และการบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงานรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน ไว้ดังนี้ 1. ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทและกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการกําหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน รวมถึงการส่งเสริมให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เช่น การกําหนดให้คววามรู้แก่เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงมีคู่มือในการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจนั้น
2. ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหากรณีขาดแคลนบุคลากร 3 .ให้กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดแนวทางในการเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคลากรส่วนท้องถิ่น ในการสนับสนุนให้มีการอบรมเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากรของท้องถิ่นในการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตและ4.ให้กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นควรกําหนด แนวทางหรือวิธีปฏิบัติ ในการบูรณาการร่วมกันเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทํางานได้อย่างรวดเร็ว เช่น การสํารวจพื้นที่เพื่อจัดทําแผนที่ภาษี การสํารวจที่ดินเพื่อจัดเก็บภาษีในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น เช่น กรมป่าไม้ ,กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยให้มีการบูรณาการด้านข้อมูลเมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สํารวจข้อมูลนั้นไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถนําข้อมูลนั้นมาใช้ได้