close

หน้าแรก

menu
search

เรียนรู้การบริหารรายได้ ท้องถิ่นญี่ปุ่น

schedule
share

แชร์

         ตัวเลขรายจ่ายสาธารณะของญี่ปุ่นในปี 2014 พบว่าเป็นภาระของท้องถิ่นสูงกว่า 70% ในขณะที่รัฐบาลกลางมีสัดส่วนเพียง 30% โดยค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลกลางรับผิดชอบเต็ม ๆ”

 

          วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เพจเฟซบุ๊ก Agenda ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับการบริหารภาษีท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า

 

          ญี่ปุ่นส่งของดีในท้องถิ่นทั่วประเทศถึงบ้านคนจ่ายภาษี มีให้เลือกทั้ง เนื้อมัตสึซากะ ไข่ปลาแซลมอน ชีส ปูยักษ์มัตสึบะ หอยโฮตาเตะ ฯลฯ

 

          นโยบายภาษีบ้านเกิดนี้ คือหนึ่งในวิธีการกระจายโครงสร้างอำนาจในการบริหาร และอำนาจการคลัง จนช่วยให้ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการกระจายความเจริญไปทั่วประเทศ

 

          เป้าหมายคือลดเมืองหลวงแออัด ต่างจังหวัดและท้องถิ่นเจริญ ผู้คนมีอาชีพ มีรายได้พอเพียงที่จะเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว

 

          จะเป็นแบบนี้ได้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่อยู่ที่การบริหารจัดการ

 

          ญี่ปุ่นริเริ่มแนวคิดการปกครองตนเองของท้องถิ่นไว้ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามหลักการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตประชาชน กฎหมายภาษีท้องถิ่นกับโครงสร้างการปกครอง ทำให้ระบบภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการบริหารจัดการไม่ทับซ้อนกัน

 

          พูดให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คือ การปกครองระดับจังหวัด มีหน้าที่ดูแล แนะนำเทศบาล ช่วยประสานงานกับรัฐบาลกลาง ส่วนเทศบาล มีหน้าที่ให้บริการสาธารณะโดยตรงแก่ประชาชน จำนวนเทศบาลก็จะมีมากกว่าจังหวัดมาก เพื่อที่จะให้บริการประชาชนได้ทั่วถึง

 

          แต่การบริหารจัดการให้ไปรอด ต้องใช้ปัจจัยสำคัญก็คือเงิน ระบบการคลังจึงเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นกระจายความเจริญได้สำเร็จ

 

          ระบบการคลังท้องถิ่น แต่เดิม การคลังท้องถิ่นญี่ปุ่นก็มีโครงสร้างแบบไทย คือพึ่งพารายได้จากภาษีที่รัฐบาลกลางจัดสรรให้เป็นหลัก

 

          แต่หลังจากการปฏิรูปภาษี ท้องถิ่นญี่ปุ่นก็ปรับเปลี่ยนมาเน้นพึ่งพารายได้จากภาษีท้องถิ่นของตัวเองมากขึ้น

 

          ในปี 2016 การจัดเก็บภาษีของญี่ปุ่นแบ่งตามระดับการปกครองนั้น ได้จากท้องถิ่นจัดเก็บเองเป็นสัดส่วนกว่า 40% จากงบประมาณทั้งประเทศ

 

 

          รายรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดและเทศบาลส่วนใหญ่จะมาจากภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองเป็นหลัก เช่น ภาษีเพื่อการอยู่อาศัย ภาษีจากการประกอบธุรกิจ และภาษีท้องถิ่นจากการบริโภค ภาษีน้ำมัน ภาษีผังเมือง ภาษีบุหรี่ เป็นต้น รองลงมาเป็นเงินรายรับอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมและเงินบริจาค เป็นต้น ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บและจัดสรรให้แก่ท้องถิ่น

 

          นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีพันธบัตรท้องถิ่นอีกด้วย เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนและระดมทุนมาใช้จ่าย

 

          ในขณะที่รัฐบาลกลางมีแหล่งภาษีซึ่งจัดเก็บได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก

 

          อีกอย่างที่วัดการกระจายรายได้และทรัพยากรไปยังท้องถิ่นได้ดี ก็คือ ‘รายจ่าย’

 

          ตัวเลขรายจ่ายสาธารณะของญี่ปุ่นในปี 2014 พบว่าเป็นภาระของท้องถิ่นสูงกว่า 70% ในขณะที่รัฐบาลกลางมีสัดส่วนเพียง 30% โดยค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลกลางรับผิดชอบเต็ม ๆ มีแค่เงินบำเหน็จบำนาญ และค่าใช้จ่ายทางทหารเท่านั้น

 

          นอกจากระบบการจัดสรรอำนาจหน้าที่ให้ท้องถิ่นที่ดีแล้ว

ญี่ปุ่นยังเอาระบบภาษีบ้านเกิด มาเพิ่มการแข่งขันสร้างสรรค์คุณภาพระหว่างท้องถิ่นด้วย

 

          และทั้งหมดนี้ สิ่งสำคัญของการกระจายอำนาจคลัง และความมั่นคงของระบบประชาธิปไตย ก็คือความโปร่งใสของญี่ปุ่น ที่ประชาชนสามารถตรวจสอบภาษี / รายจ่าย อย่างเจาะจงได้ทุกระดับ

 

          นโยบาย ‘ภาษีบ้านเกิด’ หรือ ‘ฟุรุซาโตะโนเซ’ (Furusato nozei : ふるさと納税)

 

          เพราะสินค้าท้องถิ่นของญี่ปุ่นนั้นมีเอกลักษณ์ และเป็นสิ่งที่ดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี นโยบาย ‘ภาษีบ้านเกิด’ ของรัฐบาลญี่ปุ่น จึงเป็นระบบที่ได้รับการพูดถึงอย่างมาก

 

          หลักการง่ายๆ ของนโยบายนี้ก็คือ ประชาชนสามารถเลือกท้องถิ่นและจำนวนเงินที่อยากบริจาคให้แก่ท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมีสิ่งตอบแทนคือ นำยอดที่บริจาคไปลดหย่อนภาษีได้ และท้องถิ่นที่ได้รับเงินบริจาค ก็จะส่งของดีของดังประจำเมืองมาให้เป็นของตอบแทน ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่บริจาค

 

          นอกจากจะทำให้ผู้จ่ายภาษีอย่างคนญี่ปุ่นสนุกและเต็มใจกับจ่ายภาษีมากขึ้น

ยังทำให้ท้องถิ่นแข่งกันพัฒนาของดีประจำจังหวัดของตนเพื่อจูงใจคนด้วย

 

          ผลของนโยบายนี้ ทำให้

– จังหวัดโทจิงิ ได้เงินเพิ่มขึ้น 7 เท่าตัวในปี 2014 เพราะคนอยากกินสตรอว์เบอร์รี่ชื่อดังของท้องถิ่น

– เมืองฮิราโดะ จังหวัดนางาซากิ ได้เงินสูงถึง 1 พันล้านเยน ในปี 2014

 

          ตัวอย่างของตอบแทนสุดคุ้มที่จะได้

 

– โชยุ คิเซคิโนะฮิชิโอะ จากจังหวัดมิยากิ ที่บนแพคเกจเล่าเรื่องราวเก่ียวกับเชื้อจุลินทรีย์หมักโชยุที่เกือบถูกพัดหายไปในสึนามิ

– แต่งเพลงประจำตัวให้

– ปูยักษ์มัตสึบะ จากทตโตริ

– ลูกพีช 2 กิโล จากวากายามะ

– ไข่ปลาแซลมอน 500 g จากฮอกไกโด

 

          นอกจากนี้ยังมีระบบ Subscribe ในบางท้องถิ่นด้วย ถ้าจ่ายเยอะขึ้น จะได้รับวัตถุดิบสด ๆ ส่งตรงถึงบ้าน 4 เดือน เป็นต้น

 

          แต่นโยบายนี้ ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้าง เพราะของขวัญแลกเปลี่ยนยอดนิยม มักจะเป็นสินค้าราคาแพง บางท้องถิ่นเอา ipad มาแจก เพื่อดึงให้คนบริจาคเยอะ ๆ ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมเพราะ ipad ไม่ใช่สินค้าท้องถิ่น เลยมีการออกกฏให้เข้มงวดขึ้น

 

          หรือตอบแทนจากท้องถิ่นบางอย่างที่ดีมาก ๆ คนที่ได้ไปก็นำมาปล่อยขายต่อในราคาแพง หรือเปิดประมูลให้คนแย่งกันประมูลของ ทำให้หลายท้องถิ่นถูกเรียกร้องให้หามาตรการป้องกันเรื่องเหล่านี้

 

          มองประเทศไทย

 

          สำหรับประเทศไทย ภาษีส่วนใหญ่ที่ท้องถิ่นจัดเก็บได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีรายได้ธุรกิจ ภาษีรายได้ส่วนบุคคล จะต้องส่งให้ส่วนกลาง และรอส่วนกลางแบ่งปันงบประมาณกลับมา มีภาษีที่เป็นรายได้ทางตรงแก่ท้องถิ่นไม่กี่อย่าง เช่น ภาษีป้าย เป็นต้น

 

          คงจะดีไม่น้อย ถ้าต่างจังหวัดของไทยมีการกระจายเศรษฐกิจและความเจริญให้มากขึ้นบ้าง ลดการกระจุกตัวและความแออัดในเมืองหลวงลง เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้กลับไปพัฒนาและใช้ชีวิตที่บ้านเกิดได้อย่างมีกินมีใช้ แทนที่ต้องมุ่งมาแสวงหาโอกาสและรายได้จากเมืองหลวงเพียงอย่างเดียว

 

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ดวงเฮง! อดีต ผอ. กองช่างเทศบาล ถูกรางวัลที่ 1 รับ 30 ล้านบาท

ดวงเฮง! อดีต ผอ. กองช่างเทศบาล ถูกรางวัลที่ 1 รับ 30 ล้านบาท

อดีต ผอ.กองช่างเทศบาลนครปากเกร็ด ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล ร…

schedule
นครเชียงใหม่ เปิดตัว! รถฉีดน้ำทำความสะอาด EV

นครเชียงใหม่ เปิดตัว! รถฉีดน้ำทำความสะอาด EV

เทศบาลนครเชียงใหม่ เตรียมปรับปรุงพื้นผิวจราจรบริเวณถนนร…

schedule
นายกเล็กเมืองเก่า มอบอินทผาลัมลดอาการอ่อนล้า ช่วงเดือนรอมฎอน

นายกเล็กเมืองเก่า มอบอินทผาลัมลดอาการอ่อนล้า ช่วงเดือนรอมฎอน

“ว่าที่ร้อยตรีสมทรง สรรพโกศลกุล” นายกเทศมนตรีนครพระนครศ…

schedule
ใจป้ำ! นายกเล็กราชบุรีมอบเงิน 600,000 บาท ให้ รพ.ศูนย์ราชบุรี

ใจป้ำ! นายกเล็กราชบุรีมอบเงิน 600,000 บาท ให้ รพ.ศูนย์ราชบุรี

“ศักดิ์ชัย พิศาลผล” นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี พร้อมครอบค…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]