close

หน้าแรก

menu
search

เปิดประเด็น สาระสำคัญต้องรู้ ร่างกฎหมายการเลือกตั้งท้องถิ่นฯ จะเลือกตั้งได้เมื่อไร, แบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไร, เวลาเลือกตั้งท้องถิ่น ฯลฯ

schedule
share

แชร์

       หลังจากที่ ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้ลงมติ ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. หรือ ร่างกฎหมายการเลือกตั้งท้องถิ่นฯ ในวาระ 3 ซึ่งจะเป็นกฎหมายสำคัญในการจัดการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วไป โดยสิ่งที่เป็น สาระสำคัญ ที่มีความน่าสนใจ ประกอบไปด้วย ประเด็นต่อไปนี้

       เลือกตั้งท้องถิ่น จะเริ่มได้เมื่อไร 
       หลังจาก หลัง ร่าง พ.ร.บ.นี้ บังคับใช้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นสมควร โดย คสช. จะแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทราบและกำหนดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น และให้ประกาศและคำสั่งหัวหน้า คสช.(ม.141) ที่เคยออกประกาศเกี่ยวกับการงดการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นจำนวนทั้งหมด 7 ฉบับจะถูกยกเลิกไป อย่างไรก็ตามหาก คสช.สิ้นสภาพไปแล้วการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกจะเกิดขึ้นโดยอำนาจของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
นอกจากนี้ เลือกตั้งท้องถิ่น ครั้งต่อไป!!! มีสองลักษณะปกติ คือ สมาชิกสภาและผู้บริหารท้องถิ่นครบวาระการดำรงตำแหน่ง ให้จัดการเลือกตั้งภายใน 45 วันนับแต่วันที่ครบวาระ ลักษณะปกติที่สอง คือ สมาชิกสภาหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งตำแหน่งเพราะเหตุอื่นให้จัดเลือกตั้งภายใน 60 วันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง แต่ถ้าสมาชิกสภาฯ เหลือวาระการดำรงตำแหน่งไม่ถึง 180 วัน จะไม่จัดการเลือกตั้งก็ได้

       การประกาศผลการเลือกตั้งภายใน 30 วัน
       การประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ให้ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งไม่ได้สุจริตและเที่ยงธรรมให้ กกต. ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนให้เสร็จ และประกาศผลการเลือกตั้งหรือจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ต้องไม่ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

       จะกำหนดเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นอย่างไร 
       การแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้จัดให้มีประขาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกันมากที่สุด และพื้นที่ของแต่ละเขตเลือกตั้งต้องติดต่อกัน เว้นแต่บ้างพื้นที่ไม่อาจแบ่งเขตให้มีพื้นที่ติดต่อกันได้ (ม.19) สำหรับหลักการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น (ม.18) คือ

        การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้าเขตใดมีจำนวนประชากรในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเกิน 150,000 คน ให้ กกต.แบ่งเขตนั้นออกเป็นเขตเลือกตั้งตามจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่พึงมี โดยแต่ละเขตต้องมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน
การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ให้ถืออำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้าอำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคนให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง เท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น
การเลือกตั้งสมาชิก “สภาเทศบาลตำบล” ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิก “สภาเทศบาลเมือง” ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิก “สภาเทศบาลนคร” หรือการเลือกตั้งสมาชิก “สภาเมืองพัทยา” ให้แบ่งเขตเทศบาลหรือเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง และต้องมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเท่ากันทุกเขตเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น ให้ใช้เขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง

       เวลาเลือกตั้งท้องถิ่น เปลี่ยนเป็น เลือกตั้งในระยะเวลา 08.00 – 17.00 น.
       เปิดการออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. แต่ กกต. จะกำหนดเวลาการออกเสียงลงคะแนนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเป็นอย่างอื่นก็ได้ แต่ต้องมีเวลาการออกเสียงลงคะแนนไม่น้อยกว่าเจ็ดชั่วโมง

       หากเกิดกรณี ผู้ลงสมัครคะแนนน้อยกว่า คะแนนไม่เลือกผู้ใด ต้องเลือกตั้งใหม่
       หลักเกณฑ์ในการชนะเลือกตั้ง “การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น” ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดและมากกว่าเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นในเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุดและได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นในเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกมากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเรียงลำดับลงมาในเขตเลือกตั้งนั้นและได้รับคะแนนมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งตามจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น หากมีผู้สมัครได้คะแนนเท่ากันให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนเลือกตั้งเท่ากันจับสลาก
หากไม่มีผู้สมัครผู้ใดได้รับเลือกตั้ง เพราะเหตุที่ไม่ได้คะแนนมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกตั้งผู้ใด ให้จัดเลือกตั้งใหม่โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งรายเดิมทุกคนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่ หากไม่มีคู่แข่งต้องได้คะแนนร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นเพียงคนเดียวในเขต หรือในกรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในเขตนั้น ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มึสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด

       สามารถคัดค้าน ผลการเลือกตั้ง ได้หรือไม่ 
       ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือผู้สมัคร มีสิทธิยื่นคัดค้านต่อ กกต. ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง หรือที่ตนสมัครรับเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยสามารถยื่นคัดค้านการเลือกตั้งได้ตั้งแต่วันประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึง 30 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง ทั้งนี้ การคัดค้านเกี่ยวกับการนับคะแนนให้คัดค้านในระหว่างที่ยังนับคะแนนยังไม่เสร็จ หรือในกรณีคัดค้านการรวมคะแนน ให้คัดค้านก่อนประกาศผลการนับคะแนน

       ต้องมีการแต่งตั้ง กกต.ประจำ อปท.ดูแลการเลือกตั้ง
       ต้องมีกรรมการ กกต. แต่งตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งประจำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัดที่เป็นเขตเลือกตั้งหรือในเขตอำเภอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และจะแต่งตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดหรืออำเภอจำนวนไม่เกินสองคนด้วยก็ได้ แต่ไม่ให้แต่งตั้งจากข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]