close

หน้าแรก

menu
search

อำนาจ อปท. ในการใช้ “รถ” ช่วยเหลือ ปชช.

schedule
share

แชร์

  อธิบดีสถ. แจงยิบ แนวปฏิบัติการใช้รถช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจ อปท. ชี้รับ-ส่งไปรพ.เคสไม่ฉุกเฉินต้องเป็นผู้ป่วยที่ลงทะเบียน

  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) ได้เปิดเผยถึงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้รถเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการสาธารณะในด้านต่างๆ เพื่อให้ทุก อปท. ได้ปฏิบัติตามหน้าที่อย่างถูกต้องตามแนวทางเดียวกัน

  นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้และรักษารถยนต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ได้แบ่งรถยนต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็น 3 ประเภท คือ รถประจำตำแหน่ง รถรับรอง และรถส่วนกลาง ที่ได้นิยามคำว่า “รถส่วนกลาง” คือรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่จัดไว้เพื่อใช้งานส่วนรวมของ อปท. และรวมถึงรถยนต์ที่ใช้ในการบริการประชาชนหรือใช้ในหน้าที่ของส่วนราชการของ อปท. เช่น รถยนต์พยาบาล 

  ประกอบกับ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 ที่กำหนดว่า “การช่วยเหลือประชาชน” คือ การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการดำรงชีพ โดยอาจให้เป็นสิ่งของ จ่ายเป็นเงิน หรือเป็นการจัดบริการสาธารณะเพื่อให้การช่วยเหลือ ตามอำนาจหน้าที่ ที่กำหนดว่า การช่วยเหลือประชาชนด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้น

  นายสุทธิพงษ์ ระบุว่า สถ. ให้อำนาจ อปท. พิจารณาใช้จ่ายงบประมาณช่วยเหลือประชาชน ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยอนุโลม ประกอบกับระเบียบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการว่าด้วยการสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2552 ข้อ 8 ที่กำหนดว่า การดำเนินงานสงเคราะห์ครอบครัวที่ประสบความเดือดร้อน ให้สามารถช่วยเหลือด้านการเงินหรือสิ่งของเป็นวงเงินในการช่วยเหลือได้ไม่เกินครั้งละ 3,000 บาทต่อครอบครัว และให้ความช่วยเหลือติดต่อกันได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อครอบครัว และต่อปีงบประมาณ โดยค่ารักษาพยาบาลนั้น จะรวมถึงค่าพาหนะไว้ด้วยแล้ว

  อธิบดี สถ. กล่าวต่อถึงการจัดบริการสาธารณะของ อปท. ในการช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ว่า ในกรณีการรับส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล อปท. อาจดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ โดยผู้ป่วยที่จะได้รับการช่วยเหลือ จะต้องเป็นผู้ป่วยที่ได้ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือจาก อปท. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 แล้ว และเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นไปอย่างทั่วถึง ก็ขอให้ทาง อปท. ได้แนะนำให้ผู้ป่วยที่สมควรได้รับการช่วยเหลือไปทำการลงทะเบียนตามระเบียบฯ ด้วย

  “สำหรับการจัดบริการรับส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ให้ อปท.พิจารณาตามความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย โดยกรณีผู้ป่วยที่สามารถดูแลและช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน ให้พิจารณาใช้รถส่วนกลาง ที่ไม่ใช่รถฉุกเฉินไปให้บริการได้ โดยการใช้รถส่วนกลางนั้น ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้และรักษารถยนต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ส่วนกรณีที่ อปท. ไม่มีรถส่วนกลาง หรือมีรถส่วนกลางแต่อยู่ในระหว่างใช้ปฏิบัติราชการ หรือรถอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมแก่การรับส่งผู้ป่วย ก็ให้ อปท. ประสานมูลนิธิหรือองค์กรอื่นๆ ที่มีรถฉุกเฉิน เพื่อให้การช่วยเหลือ หรืออาจจ้างพาหนะในพื้นที่ โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 หรืออาจให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นเงินค่าพาหนะในการเดินทางไปโรงพยาบาล ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 ประกอบกับระเบียบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการว่าด้วยการสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2552” อธิบดี สถ. กล่าว

  ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยที่ไม่มีผู้ดูแล ให้ใช้รถฉุกเฉินในการบริการ หาก อปท. ไม่มีรถฉุกเฉิน หรือมีรถฉุกเฉินแต่ในขณะนั้น อยู่ในระหว่างรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยที่ไม่มีผู้ดูแลท่านอื่นอยู่ ก็ให้ อปท. ประสานมูลนิธิหรือองค์กรอื่นๆ ที่มีรถฉุกเฉิน เพื่อให้การช่วยเหลือ หรืออาจจ้างพาหนะในพื้นที่ โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 หรืออาจให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นเงินค่าพาหนะในการเดินทางไปโรงพยาบาล ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 ประกอบกับระเบียบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการว่าด้วยการสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2552 เช่นกัน อธิบดี สถ. กล่าว

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]