close

หน้าแรก

menu
search

หวังว่าจะทำงานคุ้มค่า ภาษีคนไทยเฉียด “หมื่นล้าน” ให้คนในสภา

schedule
share

แชร์

       คนไทยจ่ายภาษีกว่า 9.46 พันล้านบาท เป็นเงินเดือนให้กับ ส.ส. ส.ว. และบรรดาผู้ช่วยอีกกว่าพันชีวิต ตลอดการดำรงตำแหน่งในหนึ่งวาระ ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าทุกคนในสภา จะทำหน้าที่แทนคนไทยทั้งประเทศอย่างเต็มภาคภูมิ

       หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไปแล้วทั้ง 500 คน จากการเลือกตั้งซ่อมล่าสุดที่ในพื้นที่เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ โดย น.ส. ศรีนวล บุญลือ ส.ส.จากพรรคอนาคตใหม่ ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ ด้านการคำนวณผลคะแนน ส.ส.แบบปาร์ตี้ลิสต์พรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปปัตย์ ได้ ส.ส.เพิ่มอีกพรรคละ 1 คน โดยมี ส.ส.จากพรรคไทรักธรรมพ้นจากตำแหน่งไป 1 คน

       ขณะที่การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้ครบจำนวนทั้งหมด 250 คนแล้ว ซึ่งมีที่มาจาก 1) กกต. จัดให้มีการเลือกจากการสมัครเข้าร่วมของประชาชน 10 กลุ่มอาชีพทั่วประเทศ 2) มาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการการสรรหาฯ นำโดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเว็บไซต์ไทยรัฐ รายงานว่า รายชื่อ ส.ว. มีทหารยศนายพล 89 คน และตำรวจยศนายพลอีก 12 คน ทีมจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ร่วมอยู่ด้วยอีก 83 คน

       จำนวน ส.ส. และ ส.ว. รวมกันทั้งหมด 750 คน ไม่รวมถึงบรรดาผู้ช่วย นักวิชาการ และเลขาอีกหลายพันชีวิต ที่จะมาทำหน้าที่แทนคนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ ลองตรวจสอบกันว่า ประชาชนคนไทยต้องจ่ายเงินให้กับบุคลากรในสภาเป็นเงินเท่าใดตลอดวาระการทำงาน โดยอ้างอิงอัตราเงินเดือนและจำนวนบุคลากรจาก กำหนดสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2556  และ สิทธิประโยชน์ของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ 2557

ฝั่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

ประธานสภาผู้แทนราษฎร เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 75,590 บาท และเงินเพิ่มเดือนละ 50,000 บาท รวม 125,590 บาท

คณะทำงานทางการเมือง ของประธานสภาผู้แทนราษฎร 10 คน ประกอบด้วย ที่ปรึกษา 4 คน นักวิชาการ 3 คน และเลขานุการ 3 คน รวมเป็นเงินเดือนละ 131,200 บาท

รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท และเงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท รวม 115,740 บาท จำนวน 2 คน รวม 231,480 บาท

คณะทำงานทางการเมือง ของรองประธานสภาผู้แทนราษฎร 7 คน (ต่อรองประธานฯ 1 คน) ประกอบด้วย ที่ปรึกษา 3 คน นักวิชาการ 2 คน และเลขานุการ 2 คน รวมเป็นเงินเดือนละ 92,800 บาท รองประธานฯ มี 2 คน รวม 185,600 บาท

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท และเงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท รวม 115,740 บาท

คณะทำงานทางการเมืองของผู้นำฝ่ายค้าน 10 คน ประกอบด้วย ที่ปรึกษา 4 คน นักวิชาการ 4 คน และเลขานุการ 2 คน รวม 134,400 บาท

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาท และเงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท รวม 113,560 บาท จำนวน 496 คน
เป็นเงิน 56,325,760 บาท

ผู้เชี่ยวชาญ ประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน อัตราเดือนละ 24,000 บาท จำนวน 496 คน
เป็นเงิน 11,904,000 บาท

ผู้ชำนาญการ ประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คน ต่อ ส.ส. 1 คน ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน อัตราเดือนละ 15,000 บาท รวม 992 คน
เป็นเงิน 14,880,000 บาท

ผู้ช่วยดำเนินงาน ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 คน ต่อ ส.ส. 1 คน ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน อัตราเดือนละ 15,000 บาท รวม 2,480 คน
เป็นเงิน 37,200,000 บาท

ฝั่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

ประธานวุฒิสภา เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 74,420 บาท และเงินเพิ่มเดือนละ 45,500 บาท
รวม 119,920 บาท

คณะทำงานทางการเมือง ของประธานวุฒิสภา 12 คน ประกอบด้วย ที่ปรึกษา 5 คน นักวิชาการ 4 คน และเลขานุการ 3 คน
รวมเป็นเงินเดือนละ 217,000 บาท

รองประธานวุฒิสภา เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท และเงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท จำนวน 2 คน
รวม 231,480 บาท

คณะทำงานทางการเมือง ของรองประธานวุฒิสภา 10 คน (ต่อรองประธาน 1 คน) ประกอบด้วย ที่ปรึกษา 4 คน นักวิชาการ 4 คน และเลขานุการ 2 คน
รวมเป็นเงินเดือนละ 364,000 บาท

สมาชิกวุฒิสภา เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาท และเงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท รวม 113,560 บาท จำนวน 247 คน
เป็นเงิน 28,049,320 บาท

ผู้เชี่ยวชาญ ประจำตัวสมาชิกวุฒิสภา 1 คน ต่อ ส.ว. 1 คน ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน อัตราเดือนละ 24,000 บาท จำนวน 247 คน
เป็นเงิน 5,928,000 บาท

ผู้ชำนาญการ ประจำตัวสมาชิกวุฒิสภา 2 คน ต่อ ส.ว. 1 คน ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน อัตราเดือนละ 15,000 บาท จำนวน 494 คน
เป็นเงิน 7,410,000 บาท

ผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกวุฒิสภา 5 คน ต่อ ส.ว. 1 คน ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน อัตราเดือนละ 15,000 บาท จำนวน 1,235 คน
เป็นเงิน 18,525,000 บาท

       รวมค่าใช้จ่ายฝั่ง ส.ส. ต่อปี 1,454,805,240 บาท และหากอยู่ครบวาระ 4 ปี รวม 5,819,220,960 บาท

       รวมค่าใช้จ่ายฝั่ง ส.ว. ต่อปี 730,136,640 บาท และหากอยู่ครบวาระ 5 ปี รวม 3,650,683,200 บาท

       รวมเงินเดือนทั้งทางฝั่ง ส.ส. และ ส.ว. เมื่อต้องอยู่จนครบวาระตำแหน่งคือ 9.46 พันล้านบาท รายการข้างต้นยังไม่รวมถึงสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยประชุม สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ซึ่งให้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ในการมาทำภารกิจในแต่ละครั้งด้วย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ดวงเฮง! อดีต ผอ. กองช่างเทศบาล ถูกรางวัลที่ 1 รับ 30 ล้านบาท

ดวงเฮง! อดีต ผอ. กองช่างเทศบาล ถูกรางวัลที่ 1 รับ 30 ล้านบาท

อดีต ผอ.กองช่างเทศบาลนครปากเกร็ด ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล ร…

schedule
นครเชียงใหม่ เปิดตัว! รถฉีดน้ำทำความสะอาด EV

นครเชียงใหม่ เปิดตัว! รถฉีดน้ำทำความสะอาด EV

เทศบาลนครเชียงใหม่ เตรียมปรับปรุงพื้นผิวจราจรบริเวณถนนร…

schedule
นายกเล็กเมืองเก่า มอบอินทผาลัมลดอาการอ่อนล้า ช่วงเดือนรอมฎอน

นายกเล็กเมืองเก่า มอบอินทผาลัมลดอาการอ่อนล้า ช่วงเดือนรอมฎอน

“ว่าที่ร้อยตรีสมทรง สรรพโกศลกุล” นายกเทศมนตรีนครพระนครศ…

schedule
ใจป้ำ! นายกเล็กราชบุรีมอบเงิน 600,000 บาท ให้ รพ.ศูนย์ราชบุรี

ใจป้ำ! นายกเล็กราชบุรีมอบเงิน 600,000 บาท ให้ รพ.ศูนย์ราชบุรี

“ศักดิ์ชัย พิศาลผล” นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี พร้อมครอบค…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]