close

หน้าแรก

menu
search

ส่อง “ช่องโหว่” งบท้องถิ่น

schedule
share

แชร์

ส.ส.อนาคตใหม่ เปิดช่องโหว่งบท้องถิ่นปี 63 “อปท.ถูกโกง 3 เด้ง” ชี้เป็นรัฐแบบรวมศูนย์ ไม่กระจายอำนาจจริง ยกแผนญี่ปุ่นให้อิสระท้องถิ่นจัดการงบเอง

  น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ เป็นตัวแทนพรรคฝ่ายค้านอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 โดยเปิดประเด็นว่าประเทศไทยมี 5 โจทย์หลักที่ต้องได้รับการแก้ไข พร้อมยก 8 เหตุผลที่พรรคอนาคตใหม่จะไม่รับร่างฯ และ 4 ข้อเสนอที่เป็นทางออกสำหรับการใช้ร่างงบประมาณดังกล่าว

  ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับท้องถิ่นนั้น ส.ส.จากพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าวถึงอยู่ในเหตุผลข้อที่ 2 รัฐ ราชการรวมศูนย์ และการกระจายอำนาจที่ถอยหลังลงคลอง ซึ่งพรรคอนาคตใหม่ได้แจกแจงการได้มาของงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยมองว่าไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

  “งบที่ อปท. ได้เหมือนกับโดนโกงถึง 3 เด้ง”

  เด้งที่ 1 เป้าหมายที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ นั้น คือกำหนดให้รัฐต้องโอนรายได้ให้ท้องถิ่น ในสัดส่วน 35% ของรายได้สุทธิของรัฐบาล แต่นับจากปี 2554 จนถึงวันนี้ยังอยู่ที่ตัวเลขประมาณ 30%

 เด้งที่ 2 เรื่องของงบผ่าน โดยที่ อปท. ไม่ได้มีอำนาจในการคิดโครงการใดๆ เป็นเพียงสถานที่ให้รัฐส่งผ่านงบประมาณไปเท่านั้น ได้แก่ เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ อาหารกลางวันเด็ก ค่าตอบแทน อสม. นมโรงเรียน เหล่านี้รวมเป็นเม็ดเงินถึง 1.3 แสนล้านบาท ถ้าหักส่วนงบผ่านเหล่านี้ออกไป ส่วนที่ อปท. ได้รับจริงๆ จะเหลือเพียง 24.7% เท่านั้น

  เด้งที่ 3 เรื่องการประมาณการรายได้ของ อปท. ซึ่งมีที่มารายได้มาจาก 3 ก้อน ได้แก่ รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บได้เอง รายได้ที่รัฐแบ่งให้ และส่วนที่เป็นเงินอุดหนุน ที่ผ่านมาพลาดเป้ามาโดยตลอด หายไปปีละประมาณ 50,000 ล้านบาท

  “ในส่วนของงบปี 2563 ไม่มีโอกาสที่ อปท.จะเก็บได้เพิ่มขึ้น โดยดูจากรายได้ปี 2562 ที่ อปท. เก็บเองอยู่ที่ประมาณ 7.1 หมื่นล้านบาท แต่รัฐบาลประมาณการว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 แสนล้านบาท อีก 4 หมื่นล้านมาจากไหน เก็บจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เก็บต่ำเตี้ยเรี่ยดินนั้นเป็นไปไม่ได้ กระทรวงการคลังออกมาบอกแล้วว่า ประมาณการนั้นจะอยู่แค่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เท่ากับว่า อปท. มีรายได้จริงไม่ถึง 22% ซึ่งตกเกณฑ์ พรบ. ขั้นต่ำด้วยซ้ำ” น.ส.ศิริกัญญากล่าว

  นอกจากนี้ ยังชี้ว่า รัฐบาลในยุค คสช. ดึงงบกลับมาส่วนภูมิภาคมากเกินไป เปรียบเป็นการแตกกิ่งก้านของรัฐส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค แทนที่จะจัดตรงให้ อปท. กลับมาเก็บไว้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด งบส่วนนี้เติบโต 1.5 เท่า ถ้ารัฐบาลจริงใจต่อการกระจายอำนาจ จะไม่ดึงงบกลับมาที่ส่วนภูมิภาคแบบนี้

  ขณะที่นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 28 พรรคอนาคตใหม่ ได้อภิปรายแจกแจงรายละเอียดของความเหลื่อมล้ำในการจ่ายงบจัดสรรไปยัง อปท. ในแต่ละจังหวัด โดยกล่าวว่าเป็นการจัดสรรงบที่กระจุกตัวแค่บางจังหวัด ให้คำนิยามว่า “ยิ่งรวยยิ่งกระจุก ยิ่งจนยิ่งกระจาย” โดยเทียบรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยต่อครอบครัว กับเงินอุดหนุนเฉลี่ยต่อประชากรใน อบจ. แต่ละจังหวัด ผลคือ มีหลายจังหวัดที่ได้รับเงินอุดหนุนอย่างไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดที่มีรายได้สูงอยู่แล้วแต่กลับได้เงินอุดหนุนสูงหรือเท่าค่าเฉลี่ยอีก เช่น ภูเก็ต นนทบุรี หรือที่มีรายได้ต่ำแต่กลับได้รับเงินอุดหนุนเท่ากับหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เช่น เชียงราย บุรีรัมย์

  โดยเปรียบเทียบการจัดสรรงบประมาณของประเทศญี่ปุ่นว่า วิธีคิดคำนวณของญี่ปุ่นต่างจากไทย คือให้งบอุดหนุนลงไปก่อน ดูว่าแต่ละจังหวัดมีความต้องการใช้งบประมาณทั้งหมดเท่าไหร่ โดยดูจากงบประมาณต่อหัวที่จะต้องใช้ในการให้บริการสาธารณะ เช่น บริการสาธารณสุข การแพทย์ การศึกษา ฯลฯ ต่อหนึ่งหัวประชากร คูณด้วยจำนวนประชากรในจังหวัดหรือพื้นที่นั้นๆ เป็นงบประมาณทั้งหมดที่ต้องใช้ หักออกจากที่จังหวัดจัดเก็บได้เอง และหักออกจากที่รัฐบาลให้งบอุดหนุนลงไปก่อนหน้านี้แล้ว ก็จะคงเหลือเป็นก้อนที่จะต้องจัดสรรเพิ่มให้ จริงๆ แล้วรายได้ที่จัดเก็บได้เองของญี่ปุ่นและไทยไม่ต่างกัน คือเมืองใหญ่จัดเก็บได้มากกว่า ขณะที่เมืองไทย รัฐจะเน้นจัดเงินอุดหนุนมาก ซึ่ง อปท. ได้เงินไปก็ไม่มีอำนาจในการใช้จ่ายอย่างอิสระ เพราะงบอุดหนุนต้องทำตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกลางกำหนด ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ตามแผนการจัดทำงบประมาณ

  พร้อมส่งข้อเสนอในการบริหารจัดการ อปท. เพื่อจัดการกับรัฐรวมศูนย์ เน้นย้ำว่าต้องเชื่อในศักยภาพของท้องถิ่น และกล้ามอบอำนาจให้ อปท. บริหารจัดการงบ โดยโยกงบดำเนินงานที่ไม่เกิดประโยชน์ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ส่งตรงไปที่ อบต. เทศบาลซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ใกล้กับประชาชนมากที่สุด จะเป็นในรูปแบบงบอุดหนุน หรืองบจัดสรรก็ได้

  “ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 3 ข้อ โดยเงินที่ให้ไปต้องเป็นเงินที่ไม่มีเงื่อนไข มีอิสราระในการบริหารจัดการเอง และถ่วงน้ำหนักความเหลื่อมล้ำ จัดสรรตามจำนวนประชาการในจังหวัดนั้นๆ พร้อมเสนอให้มีการรวมฐานข้อมูลด้านงบประมาณของ อปท. ทั่วประเทศไว้ด้วยกัน เพื่อให้ประชาชนสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูล และแสดงความจริงใจต่อการทำงานของรัฐบาล” ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ กล่าว

  ด้าน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่ฝ่ายค้านกล่าวถึงงบประมาณท้องถิ่น ว่าในส่วนข้อเสนอที่สร้างสรรค์ตนก็จะรับไปพิจารณา ข้อเสนอเกี่ยวกับงบประมาณท้องถิ่นหลายเรื่องก็เป็นข้อเสนอที่ดี โดยย้ำว่า งบประมาณท้องถิ่นที่มีจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นงบประมาณในส่วนบุคลากร

คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ร่างฯ ฉบับนี้จะออกมาในทิศทางใด จะมีส่วนแก้ไขตามข้อเสนอของฝ่ายค้านหรือไม่ และจะนำท้องถิ่นไปสู่การการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเต็มรูปแบบได้อย่างไร ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งผ่านการประกาศใช้มากกว่า 20 ปี

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]