close

หน้าแรก

menu
search

สภาวิชาชีพวิศวกร เร่ง “มหาดไทย” ประกาศใช้กฎกระทรวงฯ เพิ่มพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวเป็น 43 จว.

schedule
share

แชร์

  สภาวิชาชีพวิศวกร แนะ “มหาดไทย” เร่งประกาศใช้กฎกระทรวงฯ เพิ่มชื่อจังหวัดเฝ้าระวังแผ่นดินไหวจาก 22 เป็น 43 จว. เพื่อรองรับการใช้กฎหมายการออกแบบอาคาร

  วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาวิศวกร นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสภาวิศวกร รศ.เอนก ศิริพานิช ประธานวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และนายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ กรรมการสภาวิศวกร ในฐานะตัวแทนจากสภาวิศวกร ได้เปิดแถลงข่าวกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวใน แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2 ครั้ง ขนาด 5.9 และ 6.4 แผ่นดินไหวครั้งนี้มีผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายจังหวัด ภาคเหนือ ได้แก่ น่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง อุตรดิตถ์ ลำพูน แพร่ พิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เลย ขอนแก่น รวมถึงตึกสูงในกรุงเทพและปริมณฑล โดยเฉพาะจังหวัดน่านที่มีบ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหายบางส่วน

  นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวถึงกรณีการเกิดแผ่นดังไหวดังกล่าวว่า เดิมกระทรวงมหาดไทย มีกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวไว้ 22 จังหวัด ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยกำลังอยู่ในระหว่างร่างฯ กฎกระทรวงใหม่ เพื่อเพิ่มเติมเป็น 43 จังหวัด ซึ่งตนอยากเรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทยเห็นถึงความจำเป็นในการเร่งเพิ่มจังหวัด ที่จะบังคับใช้กฎหมายสำหรับการออกแบบอาคารในด้านวิศวกรรมโครงสร้าง เพื่อรองรับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้ครอบคลุมทุกจังหวัดที่มีความเสี่ยง เพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิต

  “ขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงมหาดไทย รีบออกกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้ เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้ เนื่องจากกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้ จะเป็นตัวกำหนดอาคารทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยง 43 จังหวัด ที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยในเรื่องของความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว เสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดจากแผ่นดินไหว” เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าว

  รศ.เอนก ศิริพานิช ประธานวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่ถือว่าร้ายแรงกว่าครั้งที่ผ่านมา ไม่มีอันตรายต่ออาคารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากศูนย์กลางไม่ได้อยู่ในเมืองใหญ่ สาเหตุที่คนตื่นตัวกันมากขึ้นเนื่องจากรับรู้ข่าวสารกันได้ไวผ่านช่องทางต่างๆ และมีการสื่อสารหลังจากเกิดเหตุการณ์ได้พร้อมๆ กันเป็นวงกว้าง พร้อมกับแนะนำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคาร ส่งข้อมูลวัน เวลา สถานที่ ชื่ออาคาร และชั้นที่อยู่อาศัย ในช่วงที่รับรู้ความสั่นไหวเข้ามาในเว็บไซต์ของสภาวิศวกร www.coe.or.th หรือสายด่วน 1303 เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลต่อไป

  สำหรับ 22 จังหวัดที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว แบ่งเป็น 2 กลุ่มบริเวณ ได้แก่ “บริเวณ เฝ้าระวัง” เป็นพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนระนองและคลองมะ รุ่ยในภาคใต้มี 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี

  ”บริเวณที่ 1″ เป็นพื้นที่ดินอ่อนมาก จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกลมี 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

  ”บริเวณที่ 2″ เป็นพื้นที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนในภาคเหนือและด้านตะวันตกมี 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และกาญจนบุรี

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

3 ท้องถิ่นสุดเจ๋ง ผุดไอเดียกระทงรักษ์โลก

3 ท้องถิ่นสุดเจ๋ง ผุดไอเดียกระทงรักษ์โลก

กทม. – สุโขทัย – พิจิตร ผุดไอเดียกระทงดิจิทัลคลองโอ่งอ่…

schedule
มท. ไฟเขียว! ให้อบต. กู้เงินทำกิจการสาธารณะได้

มท. ไฟเขียว! ให้อบต. กู้เงินทำกิจการสาธารณะได้

มท.1 ลงนามระเบียบ มท. ว่าด้วยทุนส่งเสริมกิจการ อบต. ให้…

schedule
“ปากเกร็ด” หนุน Soft Power จัดงานลอยกระทงสุดยิ่งใหญ่ ปี 66

“ปากเกร็ด” หนุน Soft Power จัดงานลอยกระทงสุดยิ่งใหญ่ ปี 66

ปากเกร็ด จัดแถลงข่าวประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2566 ชวนแต่…

schedule
ประชุมใหญ่เทศบาลทั่วประเทศ ชี้ปัญหาท้องถิ่น รอรัฐบาลใหม่

ประชุมใหญ่เทศบาลทั่วประเทศ ชี้ปัญหาท้องถิ่น รอรัฐบาลใหม่

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยจัดการประชุมและสัมมนาทา…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]