close

หน้าแรก

menu
search

สถ.ร่อนหนังสือตอบ 7 ข้อหารือ จ.นครนายก กรณีช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิด-19 เป็นแนวทางให้ อปท.ทั่วประเทศ

schedule
share

แชร์

  วันที่ 23 พฤษภาคม 2563 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว.1505 ถึงสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด ทุกจังหวัด เนื้อหาเป็นการตอบข้อหารือแนวทางการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการป้องกันปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 โดยสรุปประเด็นสำคัญของข้อหารือ 7 ข้อ ได้ดังนี้

  1. กรณีประชาชนได้รับเงินช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ จำนวน 5,000 บาท หรือเงินเยียวยาในฐานะเกษตรกร หรือเงินช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคมแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้หรือไม่

    – หาก อปท.พิจารณาแล้วเห็นว่า ประชาชนที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการข้างต้นแล้วยังได้รับความเดือดร้อน อปท.สามารถให้ความช่วยเหลือตามระเบียบฯ ได้ตามเหมาะสม ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนของ อปท. โดยไม่ถือเป็นการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อนแต่อย่างใด

  2. กรณีที่ อปท.เกรงว่าจะเป็นการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อนตามข้อ 1 สามารถสืบค้นฐานข้อมูลการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐอื่นได้ที่ใด

    – ตามประเด็นในข้อ 1 ซึ่งไม่ถือเป็นการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อน ประเด็นนี้จึงตกไป

  3. กรณีที่อปท.ให้ความช่วยเหลือได้ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานของรัฐอื่น สามารถให้ความช่วยเหลือเป็นเงินสดหรือสิ่งของใช่หรือไม่ นอกจากนั้นในระบบ Thai QM จัดเก็บข้อมูลประชาชนเป็นรายบุคคล แต่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ ระบุให้ อปท.ให้ความช่วยเหลือเป็นรายครัวเรือน ดังนั้น อปท.จึงช่วยเหลือเป็นรายครัวเรือนมิใช่บุคคลใช่หรือไม่

  - อปท.สามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนเป็นเงินหรือสิ่งของ โดยต้องให้ความช่วยเหลือเป็นรายครัวเรือน มิใช่บุคคล

  1. กรณีที่ อปท.ให้ความช่ยเหลือเป็นเงิน สามารถจ่ายเป็นเงินได้ หรือต้องโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ขอรับความช่วยเหลือ และสามารถใช้แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดได้หรือไม่

  – อปท.สามารถโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามรายชื่อที่ประชาชนได้ลงทะเบียนไว้ได้ ส่วนการจ่ายเงินสดให้ผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานดังกล่าวของ อปท. ยืมเงินไปจ่าย   ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงิน ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547   และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 84

  1. การใช้ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบฯ นั้น กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้ อปท.พิจารณาใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล Thai QM ดังนั้น อปท.จะต้องใช้ข้อมูลจากระบบ Thai QM ในการให้ความช่วยเหลือ หรือสามารถประกาศให้ประชาชนที่ต้องการขอรับความช่วยเหลือมายื่นลงทะเบียน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือฯ ของอปท.เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป

  - อปท.ต้องประกาศให้ประชาชนที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือยื่นลงทะเบียน และนำข้อมูลดังกล่าวมาเข้าที่ประชุมเพื่อให้คณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนของ อปท.พิจารณา
   ให้ความช่วยเหลือ ด้านระบบ Thai QM สามารถนำมาประกอบการพิจารณาช่วยเหลือประชาชนได้

  1. ในการพิจารณาของคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนของ อปท. ด้านการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต ต้องยึดตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยอนุโลม จำเป็นต้องใช้แนวทางหรือเกณฑ์ตามแบบจัดเก็บข้อมูลผู้ประสบปัญหาสังคมของ พม.เพื่อตรวจสอบและกลั่นกรองใช่หรือไม่ และประชาชนมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวทางที่ พม.กำหนดถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติใช่หรือไม่

  – สามารถนำคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือและหลักเกณฑ์ช่วยเหลือมาใช้บังคับได้ ส่วนวิธีการดำเนินงานให้ศูนย์ช่วยหลือประชาชนของ อปท.สำรวจและลงทะเบียนรับ
  เรื่องขอรับการช่วยเหลือเพื่อใช้เป็นข้อมูลพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาปิดประกาศรายชื่อประชาชนที่ได้รับความช่วยเหลือ ณ สำนักงาน อปท.   ที่ทำการหมู่บ้าน ชุมชนให้ทราบทั่วกัน และรายงานผลการพิจารณาให้ อปท.ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้แนวทางตามแบบจัดเก็บข้อมูลผู้ประสบปัญหาสังคม
  ของ พม. แต่อย่างใด

  1. กรณีที่ อปท.จำเป็นต้องช่วยเหลือนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของ พม. กำหนดให้ช่วยเหลือด้านการเงินหรือส่งของเป็นวงเงินในการช่วยเหลือไม่เกินครั้งละ 3,000 บาทต่อครอบครัว และต่อเนื่องไม่เกิน 3 ครั้งต่อครอบครัวต่อปีงบประมาณ หาก อปท.กำหนดวงเงินที่สูงกว่า หรือจำนวนครั้งที่ให้การช่วยเหลือต่อปีมากกว่า เช่น รายละ 1,000 บาท จำนวน 9 ครั้ง หรือ 2,000 บาท จำนวน 5 ครั้ง หรือ 4,000 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นต้น สามารถทำได้หรือไม่

    – หาก อปท.มีความจำเป็นต้องช่วยเหลือประชาชนนอกเหนือจากหลักเกณฑ์การช่วยเหลือตามระเบียบฯ สามารถรายงานเหตุผลความจำเป็นเพื่อขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนให้ความช่วยเหลือได้

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]