close

หน้าแรก

menu
search

สถ.จับมือดีป้า ดันท้องถิ่นผุดโครงการ Smart City

schedule
share

แชร์

 สถ.ลงนาม MOU ดีป้า ดึงท้องถิ่นร่วมผลักดันโครงการ Smart City นำร่องแล้ว 12 อปท.ต้นแบบ

  วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City)” ระหว่าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) โดยมีนายขจร ศรีชวโนทัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และนายภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พร้อมด้วยผู้บริหารทั้งสองหน่วยงาน ท้องถิ่นจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามผ่านทางเว็บคอนเฟอเรนซ์

  นายประยูร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ในการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City) ตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเมืองอย่างยั่งยืน

  นายประยูร กล่าวอีกว่า สำหรับในระยะเริ่มต้นนี้ มี อปท. นำร่อง และเป็นต้นแบบการขยายผลการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนครยะลา, เทศบาลนครเชียงราย, เทศบาลเมืองน่าน, เทศบาลเมืองชุมพร, เทศบาลนครเกาะสมุย, เทศบาลนครหาดใหญ่, เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี, เทศบาลนครนครสวรรค์, เทศบาลนครเชียงใหม่, เทศบาลเมืองสตูล, เทศบาลเมืองแสนสุข และเทศบาลตำบลบ้านฉาง โดยตั้งเป้าหมายในการนำระบบออนไลน์และเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาของเมือง และอำนวยความสะดวกพี่น้องประชาชน ทั้งในด้านการจราจรและความปลอดภัย คุณภาพชีวิต สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค

  “ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้ได้เห็นความสำคัญในแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐานการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเมืองมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ที่มุ่งเน้นนำเทคโนโลยีระบบออนไลน์ มาใช้ในการทำงาน (Work from home) และการบริการประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงหลีกเลี่ยงการสัมผัสกันโดยตรง ในโอกาสนี้ ขอเชิญชวน อปท. ที่มีความพร้อม นำแนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City) มาจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนและบริหารจัดการเมือง โดยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืนต่อไป” อธิบดี สถ. กล่าว

  ด้าน ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ดีป้าเป็นหน่วยงานสำคัญที่มีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ขับเคลื่อนให้เกิดระบบนิเวศน์ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานกำกับดูแลสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย จากคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีหน้าที่ในการรับสมัครเมืองที่สนใจขอรับพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะผ่านเว็บไซต์ www.smartcitythailand.or.th ซึ่งปัจจุบันมีโครงการที่ยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาเป็น เมืองอัจฉริยะแล้ว 39 พื้นที่ มีข้อเสนอจากเทศบาลนครจำนวน 7 พื้นที่ เทศบาลเมืองจำนวน 4 พื้นที่ และเทศบาลตำบล 1 พื้นที่ รวม 12 พื้นที่เทศบาล และคาดว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะขยายจำนวนพื้นที่เขตเทศบาลในการเข้ารับการพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะเพิ่มขึ้นด้าน

  สำหรับโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) แบ่งเป็น 7 ประเภท ประกอบด้วย 1. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) หมายถึง เมืองที่คำนึงถึง ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็น ระบบ 2. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) หมายถึง เมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) หมายถึง เมืองที่สามารถบริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสมดุล ระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก

  4.การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) หมายถึง เมืองที่พัฒนาระบบบริการภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวก แก่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ โดยมุ่งเน้น ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมบริการ 5. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) หมายถึง เมืองที่มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกโดยคำนึงถึงหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีความสุขในการดำรงชีวิต

  6. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) หมายถึง เมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อมโยงของระบบขนส่งและการสัญจรที่หลากหลาย เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 7. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) หมายถึง เมืองที่มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจตลอดจนเปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน

 ปัจจุบันยังไม่มีโครงการของหน่วยงานใดที่ผ่านการรับรองว่าเป็นเมืองอัจฉริยะ โครงการทั้งหมดใน 39 พื้นที่ล้วนอยู่ในกระบวนการยื่นขอรับพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ต่อไป

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]