close

หน้าแรก

menu
search

ย้ำ! กฎหมายห้ามนักการเมืองท้องถิ่นช่วยผู้สมัครเลือกตั้งเทศบาล

schedule
share

แชร์

  ก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาหาเสียงสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี ทั้งในเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล ที่เริ่มต้นขึ้นหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจคุณสมบัติและรับสมัครเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างการเปิดรับสมัครวันที่ 8-12 ก.พ. 64 ซึ่งผู้สมัครมีระยะเวลาหาเสียงจากนี้ไปจนถึงเวลา 18.00 น. ของวันที่ 27 มี.ค.64 ก่อนที่มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค.ที่กำลังจะมาถึง

  ประเด็นการหาเสียงที่เป็นข้อถกเถียงกันอย่างเข้มข้นเมื่อครั้งการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่ผ่านมา จำเป็นต้องหยิบยกขึ้นมาพูดกันอีกครั้งในการเลือกตั้งเทศบาล เพราะเป็นเรื่องใหม่ และยังไม่มีการตีความที่ชัดเจนจาก กกต. นั่นคือ มาตรา 34 ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562  ที่ระบุว่า ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐกระทำการใด ๆ โดยมิชอบ ด้วยหน้าที่และอำนาจอันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด หรือดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ ผู้สมัครใด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง มอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ยุติหรือระงับการกระทำนั้นได้

   เมื่อครั้งเลือกตั้ง อบจ. กว่าที่ กกต.จะตอบได้อย่างชัดเจนก็กินเวลาหาเสียงไปกว่าครึ่งเดือน นักการเมืองและพรรคการเมืองส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะนิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่เสี่ยงต่อความผิดในข้อความ “..กระทำการใด ๆ โดยมิชอบ ด้วยหน้าที่และอำนาจอันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด หรือดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ ผู้สมัครใด..”

  นอกจากนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. ยังรวมไปถึง  ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส. ผู้ชำนาญการประจำตัว ส.ส. ผู้ช่วยผู้ดำเนินงานของ ส.ส.ด้วย ฝั่งของท้องถิ่น ที่ห้ามมิให้ช่วยหาเสียง ได้แก่ นายก อบจ. สมาชิกภา อบจ.  นายก อบต. สมาชิกสภา อบต. และบรรดาข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 1. ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย 2. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฎิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือปฎิบัติงานประจำ 3. อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ 4.มีเงินเดือน ค่าตอบแทน ค่าจ้าง ตามกฎหมาย

  บุคคลที่เข้าข่ายในลักษณะดังนี้ควรงดยุ่งเกี่ยวกับการหาเสียงโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะ นายก อบจ.และสมาชิกสภา อบจ.ป้ายแดง ที่ กกต.เพิ่งพิจารณารับรองผลการเลือกตั้งได้ไม่กี่วันมานี้ พึงระลึกว่าตนได้เป็นหนึ่งในข้อห้ามนั้นแล้ว

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เปิด! ศูนย์การแพทย์เทศบาลเมืองลาดสวาย พร้อมดูแลสุขภาพประชาชนถ้วนหน้า ‘หน่อง-ปลื้มจิตร์’ ร่วมเผยเทคนิคดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และการฟื้นฟูร่างกาย
ภท. เปิดเวทีเวิร์กชอป เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.บ้านเกิดเมืองนอน

ภท. เปิดเวทีเวิร์กชอป เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.บ้านเกิดเมืองนอน

ภท. เปิดเวทีเวิร์กชอป เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.บ้านเกิดเมือ…

schedule
“อบจ.” อำนาจเงียบที่ทรงอิทธิพล

“อบจ.” อำนาจเงียบที่ทรงอิทธิพล

ความสำคัญของ อบจ. ผู้มีอำนาจสุดแกร่งและทรงอิทธิพล ด้วยบ…

schedule
สภาฯ คว่ำกฎหมาย พ.ร.บ.ที่ดินฯ เพิ่มอำนาจท้องถิ่นแก้ปัญหาหน้าบ้านประชาชน

สภาฯ คว่ำกฎหมาย พ.ร.บ.ที่ดินฯ เพิ่มอำนาจท้องถิ่นแก้ปัญหาหน้าบ้านประชาชน

สภาผู้แทนราษฎร ลงมติไม่เห็นชอบ พ.ร.บ.ที่ดินฯ อ้างความเห…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]