close

หน้าแรก

menu
search

มหาดไทย ออกระเบียบ การเบิกจ่ายเงิน อปท. ฉบับใหม่ เน้นนโยบาย ต้องเป็นไปตามระบบ e-payment

schedule
share

แชร์

       นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2561 ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดมาจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นคือตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.

       สาระสำคัญของระเบียบดังกล่าวนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากฉบับเดิม เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ทางด้านการเงินการคลังในปัจจุบัน และสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลตามระบบ e-payment โดยกำหนดให้กรณีที่กระทรวงการคลังจ่ายเงินให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ใช้หลักฐานการจ่ายเงินของกรมบัญชีกลางเป็นหลักฐานการจ่ายเงินได้ เช่น การเบิกเงินค่าป่วยการ อสม. , ค่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์

       กรณีอปท.ได้ก่อหนี้ผู้พันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ ถ้าเบิกเงินไปชำระหนี้ไม่ทัน ให้ผู้บริหารอปท.อนุมัติให้กันเงินไว้ได้ และเบิกจ่ายได้ไม่เกิน 1 ปี ถัดไป หรือตามข้อผู้พันได้ โดยไม่ต้องขอขยายจากสภาท้องถิ่น สำหรับกรณียังไม่ก่อหนี้ ก็ให้เป็นอำนาจของสภาท้องถิ่น และเมื่อมีการกันเงินแล้ว และได้ก่อหนี้ผูกพันแล้ว ก็ให้เบิกจ่ายได้ตามข้อผูกพัน ทั้งนี้เพื่อลดภาระงาน และลดขั้นตอนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณของอปท.เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้น

       ทางด้านการเบิกจ่ายเงินยืมไปราชการนั้น ถ้าเดินทางเป็นหมู่คณะ อาจให้ผู้มีสิทธิคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ยืมแทนได้ และกำหนดเพิ่มเติมให้บุคคลในสังกัดยืมเงินเพื่อนำไปปฏิบัติราชการ ซึ่งจำเป็นต้องจ่ายเงินให้แต่ละวันหรือแต่ละคราวเมื่อเสร็จงาน เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าตอบแทน ค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้สอย หรือวัสดุที่ไม่ต้องจัดซื้อจัดจ้าง ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าสาธารณูปโภค เฉพาะค่าบริการไปรษณีย์โทรเลข

       อธิบดี สถ. กล่าวต่อถึงกรณีการจ่ายเงินทุนสำรองเงินสะสมว่า ให้ปรับลดเงินทุนสำรองเงินสะสมจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 15 ของทุกปี และกรณีการใช้จ่ายเงินสะสม ให้เพิ่มการกันเงินด้านบุคลากรไว้ ไม่น้อยกว่า 3 เดือน และกันไว้อีกร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี กรณีใช้บริหารงานและกรณีเกิดสาธารณภัย และในกรณีที่มีนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลหรือกระทรวงมหาดไทย และจำเป็นต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ หากงบประมาณดังกล่าวไม่เพียงพอและไม่เข้าเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินสะสมหรือเงินทุนสำรองเงินสะสม ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจอนุมัติยกเว้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถใช้จ่ายจากเงินสะสมหรือเงินทุนสำรองเงินสะสมได้ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั่นเอง

       ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2561 ได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2561/E/323/T_0001.PDF และหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ส่วนการจัดสรรเงินอุดหนุนและพัฒนาระบบงบประมาณ โทร 0-2241-9049

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

“ชาดา” ย้ำท้องถิ่นสามัคคีกันไว้ หลังเยือนขอนแก่นเปิดงานสัมมนาวิชาการฯ

“ชาดา” ย้ำท้องถิ่นสามัคคีกันไว้ หลังเยือนขอนแก่นเปิดงานสัมมนาวิชาการฯ

“ชาดา ไทยเศรษฐ์” รมช.มท. เปิดงานสัมมนาวิชาการ “ทิศทางอง…

schedule
Kick off 7,000 ท้องถิ่น โหลดแอป OCPB Connect ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค

Kick off 7,000 ท้องถิ่น โหลดแอป OCPB Connect ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค

“พวงเพ็ชร” Kick off 7,000 เทศบาล อบต โหลดแอป OCPB Conne…

schedule
จ่อตั้ง 3 หน่วยงานใหม่ เปลี่ยนชื่อ สถ. เป็น “กรมท้องถิ่น”

จ่อตั้ง 3 หน่วยงานใหม่ เปลี่ยนชื่อ สถ. เป็น “กรมท้องถิ่น”

มท.1 ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง…

schedule
3 ท้องถิ่นสุดเจ๋ง ผุดไอเดียกระทงรักษ์โลก

3 ท้องถิ่นสุดเจ๋ง ผุดไอเดียกระทงรักษ์โลก

กทม. – สุโขทัย – พิจิตร ผุดไอเดียกระทงดิจิทัลคลองโอ่งอ่…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]