close

หน้าแรก

menu
search

ผู้นำท้องถิ่นช่วยได้ไหม หนี้ครัวเรือนไทยติดอันดับ 10 ของโลก

schedule
share

แชร์

       เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา ศ.พิเศษดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/2562 ระบุว่า หนี้ครัวเรือนในไตรมาสแรกของปี 2562 มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมีปัจจัยจากการซื้อบ้านและรถยนต์ โดยในไตรมาสสี่ปี 2561 มีหนี้สินครัวเรือนเท่ากับ 12.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 และคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 78.6 เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน และเมื่อเทียบกับต่างประเทศ พบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ในอันดับที่ 10 จาก 89 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 3 จาก 29 ประเทศในเอเชีย

       โดยในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2562 หนี้สินครัวเรือนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 10.1 สูงสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสสองปี 2557 เป็นต้นมา โดยมีปัจจัยจาก

  1. การเร่งก่อหนี้ก่อนการบังคับใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา
  2. ความต้องการรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากคุณสมบัติของรถรุ่นใหม่ และมาตรการส่งเสริมการขายรถยนต์จากงานมหกรรมยานยนต์ (Motor Show 2019)
  3. การส่งเสริมการขาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเงื่อนไขการผ่อนชำระที่จูงใจ

       หนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี 2561 และภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปีที่แล้ว อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน ซึ่งต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด โดยเลขาธิการ สศช. เสนอว่า ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อกำกับดูแลและควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้รัดกุมและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อควบคุมอัตราหนี้สินครัวเรือนให้มีทิศทางที่ต่ำลง อาทิ

  • การออกแบบมาตรการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง โดยเฉพาะมาตรการเกี่ยวกับสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR)
  • การออกมาตรการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ เนื่องจากคุณภาพของสินเชื่อรถยนต์ที่มีแนวโน้มลดลง
  • การติดตามมาตรการกำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อที่มีรถยนต์เป็นหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรมและมีอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม
  • การเร่งประชาสัมพันธ์โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2
  • การกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้รายเดิมและรายใหม่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการก่อหนี้ครัวเรือนมากยิ่งขึ้น

       ขณะที่ผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่ามีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. 2562 อยู่ที่ 77.7 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 19 เดือน เนื่องมาจากประชาชนยังกังวลในความไม่แน่นอนทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ทำให้มีการระมัดระวังการจับจ่ายมากขึ้น

       สถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัว จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ต้องเร่งหามาตรการเข้ามาแก้ไข รวมทั้งการผลักดันนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ให้ออกมาเป็นรูปธรรมโดยเร็วและส่งต่อไปยังส่วนท้องถิ่น เพื่อการจัดการร่วมกันให้สอดคล้องในแต่ละบริบทของท้องถิ่นต่อไป

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

3 ท้องถิ่นสุดเจ๋ง ผุดไอเดียกระทงรักษ์โลก

3 ท้องถิ่นสุดเจ๋ง ผุดไอเดียกระทงรักษ์โลก

กทม. – สุโขทัย – พิจิตร ผุดไอเดียกระทงดิจิทัลคลองโอ่งอ่…

schedule
มท. ไฟเขียว! ให้อบต. กู้เงินทำกิจการสาธารณะได้

มท. ไฟเขียว! ให้อบต. กู้เงินทำกิจการสาธารณะได้

มท.1 ลงนามระเบียบ มท. ว่าด้วยทุนส่งเสริมกิจการ อบต. ให้…

schedule
“ปากเกร็ด” หนุน Soft Power จัดงานลอยกระทงสุดยิ่งใหญ่ ปี 66

“ปากเกร็ด” หนุน Soft Power จัดงานลอยกระทงสุดยิ่งใหญ่ ปี 66

ปากเกร็ด จัดแถลงข่าวประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2566 ชวนแต่…

schedule
ประชุมใหญ่เทศบาลทั่วประเทศ ชี้ปัญหาท้องถิ่น รอรัฐบาลใหม่

ประชุมใหญ่เทศบาลทั่วประเทศ ชี้ปัญหาท้องถิ่น รอรัฐบาลใหม่

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยจัดการประชุมและสัมมนาทา…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]