วัน พุธ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564
poonamtongtin

  • หน้าแรก

  • ประเด็นเด็ด

  • ข่าวดังท้องถิ่น

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ท้องถิ่นวาไรตี้

  • ภาพกิจกรรม

  • รวมคลิป

poonamtongtin
  • หน้าแรก

  • ประเด็นเด็ด

  • ข่าวดังท้องถิ่น

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ท้องถิ่นวาไรตี้

  • ภาพกิจกรรม

  • รวมคลิป

TITLE
Caption
  • ท้องถิ่นวาไรตี้

ย้อนคดี “จ้างรำวงย้อนยุควันสงกรานต์ อปท.เบิกได้หรือไม่”

11 ก.ย., 19 2k แชร์
  • ย้อนคดี“จ้างรำวงย้อนยุควันสงกรานต์ อปท.เบิกได้หรือไม่”

      จากกรณีเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท จัดทำโครงการงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2555 โดยจ้างเหมารำวงย้อนยุคพร้อมศิลปินนักร้องมาร่วมงาน ด้วยงบประมาณ 100,000 บาท แต่ถูกสำนักตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จังหวัดชัยนาท ทักท้วงหลังจากตรวจสอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 ว่าการจ้างเหมารำวงย้อนยุคพร้อมศิลปินนักร้องดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ไม่จำเป็น ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ไม่ประหยัดงบประมาณ และประชาชนไม่ได้ประโยชน์

      สตง. เสนอให้ผู้ที่รับผิดชอบนำเงินที่เบิกจ่ายไม่ถูกต้อง ส่งเกลับคืนคลังเทศบาลทั้งหมด โดยขณะนั้นนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเชี่ยน มอบอำนาจให้รองนายกเทศมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และผลจากการสอบของคณะกรรมการฯ ระบุว่า การเบิกจ่ายจ้างเหมารำวงย้อนยุค พร้อมศิลปินนักร้อง จำนวน 100,000 บาท เป็นการเบิกจ่ายเกินความจำเป็น ไม่ประหยัด ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ

      โดยอ้างอิงว่า กิจกรรมรำวงย้อนยุคหรือการแสดงดนตรี ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทั้งในกิจกรรมหลัก และกิจกรรมเสริม

      กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย ทำบุญตักบาตรสรงน้ำพระสงฆ์ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้  ในส่วนกิจกรรมเสริม ประกอบด้วย การจัดการละเล่นพื้นบ้าน จัดการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่น ประกวดเทพีสงกรานต์ รณรงค์เรื่องสงกรานต์ไร้แอลกอฮอร์ รณรงค์ไม่เล่นแป้ง และไม่เล่นปืนฉีดน้ำ

      คณะกรรมการฯ เสนอให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้บังคับบัญชาคืนเงินจำนวน 100,000 บาทให้คลังเทศบาล โดยให้หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลซึ่งเป็นผู้เสนอโครงการดังกล่าวรับผิดชอบในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเสียหายจำนวน 100,000 บาท คิดเป็นเงิน 20,000 บาท ปลัดเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยนซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรับผิดในอัตราร้อยละ 25 คิดเป็นเงิน 25,000 บาท หัวหน้าหน่วยการคลังในฐานะผู้ตรวจฎีกาและลงนามในฎีกาเบิกจ่ายเงิน รับผิดในอัตราร้อยละ 30 คิดเป็นเงิน 30,000 บาท และนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูงรับผิดในอัตราร้อยละ 20 คิดเป็นเงิน 25,000 บาท

      หัวหน้าหน่วยการคลังในขณะนั้น ไม่ยินยอม โดยมองว่าตนเป็นเพียงผู้อนุมัติโครงการ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว และได้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ อย่างถูกต้องทุกประการ ทำให้เกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อพิพาทดังกล่าวดำเนินการไปถึงศาลปกครองสูงสุด

      ทว่าคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ไม่ได้มองแค่เพียงว่า หัวหน้าหน่วยการคลังผิด หรือไม่ผิดประการใด แต่ยังมองย้อนไปยังสาเหตุของข้อพิพาทว่า การจ้างเหมารำวงย้อนยุคพร้อมศิลปินนักร้องมาร่วมงานนั้น กระทำได้หรือไม่

      เมื่อเปิดคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดง ที่ อ. 880/2561 ให้ความเห็นว่า วันสงกรานต์เป็นวาระของการเริ่มต้นปีใหม่ตามประเพณีไทยมาแต่อดีต ชุมชนจะร่วมกันทำบุญ และมีการเฉลิมฉลองด้วยกิจกรรมเรื่องต่างๆ รวมทั้งการจัดมหรสพตามประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น การรำวงย้อนยุคถือได้ว่าเป็นมหรสพตามประเพณีวัฒนธรรมที่ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเข้าร่วมได้เป็นการทั่วไป การจัดกิจกรรมรำวงย้อนยุคในงานวันสงกรานต์จึงเป็นภารกิจตามหน้าที่ของเทศบาล

      อีกด้านหนึ่ง การตั้งข้อสังเกตของสตง. จังหวัดชัยนาท ที่ระบุว่า การจ้างเหมารำวงย้อนยุคในโครงการงานประเพณีสงกรานต์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และไม่ใช่การบำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นตามหน้าที่เทศบาลตำบล และเสนอให้เจ้าหน้าที่คืนเงินที่เบิก 100,000 บาท จึงเท่ากับเป็นการล้มเลิกกิจกรรมรำวงย้อนยุคในวันสงกรานต์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งไม่ชอบด้วยเหตุผล และยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักความเป็นอิสระในการปกครองตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญด้วย

      สำหรับการอ้างถึง มาตรฐานการส่งเสริมศาสนาศิลปวัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่นที่กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นกำหนดไว้นั้น ศาลให้ความเห็นว่า ประเพณีเป็นเรื่องที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไปได้ในแต่ละชุมชน การกำหนดว่ากิจกรรมใดเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมศาสนาศิลปวัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่น จึงต้องคำนึงถึงเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน ไม่อาจนำเกณฑ์มาตรฐานที่อ้างถึงดังกล่าว มาพิจารณาเป็นข้อกำหนดที่ใช้เป็นการทั่วไปได้

      หลังคำพิพากษา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงมีหนังสือเรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561  แจ้งไปยังทุกจังหวัด มีสาระสำคัญว่า  ด้วยศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา คดีหมายเลขแดง ที่ อ. 880/2561 กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดกิจกรรมรำวงย้อนยุคงานประเพณีสงกรานต์ ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญและบำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ซึ่งจากคำวินิจฉัยดังกล่าว กิจกรรมรำวงย้อนยุคจึงเป็นมหรสพตามประเพณี วัฒนธรรมที่มีกฎหมายรองรับให้จัดกิจกรรมดังกล่าวได้

      ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 45 (7 ทวิ) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (8) มาตรา 53 (1) และ มาตรา 56 (1) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (8) บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

      ประกอบกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงาน การจัดการแข่งขันกีฬา และการส่งนักกีฬาเข้าร่วม การแข่งขันกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 ข้อ 4 กำหนดคำนิยาม “การจัดงาน” หมายความว่า การจัดงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยกำหนดไว้ในแผนงาน โครงการ ทั้งในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเอง หรือจัดร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น หรือจัดร่วมกับหน่วยงานอื่น และข้อ 7 (6) กำหนดว่า ค่ามหรสพ การแสดง และค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์งาน เช่น ค่าโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศทางวิทยุ โทรทัศน์ ค่าจ้างเหมาทำป้ายโฆษณาหรือสิ่งพิมพ์ ให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ

      ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงสามารถจัดงานวัฒนธรรม และประเพณีซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ได้ ส่วนกิจกรรมที่กำหนดในโครงการควรกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับโครงการ เช่น วันลอยกระทง มีกิจกรรมรำวงย้อนยุค ซึ่งถือเป็นมหรสพ การแสดง จึงสามารถเบิกค่าใช้จ่าย ตามระเบียบดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมดังกล่าวควรคำนึงถึงลักษณะของงานให้มีความเหมาะสมตามวัฒนธรรมประเพณี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

      ผลคำพิพากษาทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ต้องชำระเงินคืนให้กับคลังของเทศบาล ไม่ถือว่ากระทำความผิดเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณ และยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่บทหนึ่งให้กับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย

                   

     

    Facebook    Twitter    Line

    • ท้องถิ่นวาไรตี้

    บทความก่อนหน้า

    แนวปฏิบัติ! การรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง อปท.

    จากกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายแดง จังหวัดระนอง ได้หารือไปยังจังหวัดฯ และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เนื่องจาก อบต.ทรายแดง ได้รับแจ้งจากแขวงทางหลวงว่า มีสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้ามาในเขตทางหลวงเป็นระยะ 6 เมตร
    บทความต่อไป

    ประกาศผล แผนพัฒนาการศึกษาดีเด่น ปี 62 อปท. – สถานศึกษา ไร้รางวัลดีเด่น

    วันที่ 12 กันยายน 2562 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ประกาศ ผลการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ลงนามโดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการ

    TITLE
    Caption
    โฆษณา

    บทความแนะนำ

    ครม.เห็นชอบชดเชย อปท. ภาษีที่ดินหาย

    ครม.เตรียมชดเชยรายได้ท้องถิ่นหาย 4 หมื่นล้าน หลังเคาะมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90 เปอร์เซ็นต์ต่อในปี 2564
    26/01/21
    108
    แชร์

    เช็กคุณสมบัติผู้รับ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” ป้องกันถูกเรียกคืน

    เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายดำรงชีพที่ผู้สูงอายุได้รับจากรัฐบาล เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยจะเปิดรับผู้สูงอายุรายใหม่ในทุกๆ ปี การให้เงินช่วยเหลือเป็นแบบขั้นบันได ตามระดับอายุ คือ อายุ 60 – 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพ 600 บา
    26/01/21
    67
    แชร์

    สถ.เปิดไทม์ไลน์เลือกตั้ง “เทศบาล”

    กองการเลือกตั้งท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดเผยไทม์ไลน์ แผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี หลังคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติให้จัดการเลือกตั้งในระดับเทศบาลในวันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค.64 เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งผู้รับสมัครเลือก
    26/01/21
    374
    แชร์

    "บิ๊กแจ๊ส" ถูกกล่าวหา หาเสียงเกินอำนาจ อบจ. ลุ้น กกต.วินิจฉัย

    วันที่ 25 มกราคม 2564 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จ.ปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง หรือ บิ๊กแจ๊ส พร้อมด้วย นายอดิสร เพียงเกษ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมาพบคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา โดยมี น.ส.สุชัญญา วิมุกตายน
    25/01/21
    77
    แชร์

    อ.นิติศาสตร์ชี้ช่อง ยายไม่ต้องคืนเบี้ยคนชรา หากรับไว้โดยสุจริต-ใช้จ่ายหมดแล้ว

    จากกรณี ยายวัย 89 ปี ถูกกรมบัญชีกลางมีหนังสือแจ้งเรียกคืนเงินค่าเบี้ยผู้สูงอายุรวมดอกเบี้ยคืนกว่า 84,000 บาท หลังได้รับมานานกว่า 10 ปี เนื่องจากตรวจสอบพบว่าขาดคุณสมบัติ เพราะได้รับเงินบำนาญจากลูกชายซึ่งเป็นทหารและเสียชีวิตในหน้าที่แล้วนั้น
    25/01/21
    46
    แชร์

    นายกเมืองพระประแดงเตือน ระวังผิด ม.65 ช่วงทำหน้าที่โค้งสุดท้าย

    วันที่ 24 มกราคม 2564 นายประเสริฐ วชิรเขื่อนขันธ์ นายกเทศมนตรีเมืองพระประแดง จ.สมุทรปราการ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "PV Mayor" ถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้ออกประกาศให้มีการเลือกตั้งเทศบาลในวันที่ 1 ก.พ. 64 ว่า หลายท่านสอบถามว่า ช่วง
    25/01/21
    65
    แชร์

    poonamtongtin

    นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

    ลิงค์เพิ่มเติม

    หมวดหมู่บทความ
    ติดต่อเรา
    Sitemap

    ติดต่อเรา

    กองบรรณาธิการนิตยสารผู้นำท้องถิ่น
    admin@poonamtongtin.com

    หน้าหลัก
    บทความ
    ติดต่อเรา
    อื่นๆ