วัน จันทร์ ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564
poonamtongtin

  • หน้าแรก

  • ประเด็นเด็ด

  • ข่าวดังท้องถิ่น

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ท้องถิ่นวาไรตี้

  • ภาพกิจกรรม

  • รวมคลิป

poonamtongtin
  • หน้าแรก

  • ประเด็นเด็ด

  • ข่าวดังท้องถิ่น

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ท้องถิ่นวาไรตี้

  • ภาพกิจกรรม

  • รวมคลิป

TITLE
Caption
  • ประเด็นเด็ด

ครม.เห็นชอบ รื้อโครงสร้างนม ร.ร.ทั้งระบบ ตัดผู้มีส่วนได้เสีย ลดผลประโยชน์ทับซ้อน ยืนยัน! รบ.ยังคงอุดหนุนงบประมาณจัดสรรให้แก่ อปท. ด้วยวิธีกรณีพิเศษ

27 มี.ค., 19 139 แชร์
  • ครม.เห็นชอบ รื้อโครงสร้างนม ร.ร.ทั้งระบบ ตัดผู้มีส่วนได้เสีย ลดผลประโยชน์ทับซ้อน ยืนยัน! รบ.ยังคงอุดหนุนงบประมาณจัดสรรให้แก่ อปท. ด้วยวิธีกรณีพิเศษ

           นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอแนวทางปฏิรูประบบบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน โดยให้ทบทวนมติ ครม.15 ธันวาคม 2552 เดิม ที่กำหนดให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการนมโรงเรียนอยู่ในกำกับดูแลของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลค์บอร์ด) มีองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นเลขานุการ อีกทั้งยังมีผู้แทนองค์กรเกษตรกรและผู้ประกอบการเป็นกรรมการ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงเสนอให้แยกองค์กรที่ดูแลนมโรงเรียนออกจากมิลค์บอร์ดแล้วแต่งตั้งเป็น “คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน” โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นเลขานุการแทน อ.ส.ค. เนื่องจาก อ.ส.ค.เป็นผู้ประกอบการจำหน่ายนมโรงเรียน พร้อมกับตัดคณะกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรเกษตรกรและผู้ประกอบการ เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ข้อเสนอแนะ

           ทั้งนี้ คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนจะมีคณะอนุกรรมการ 4 ชุด คือ คณะอนุกรรมการบริหารกลางทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินโครงการนมโรงเรียน คณะอนุกรรมการรรณรงค์บริโภคนมในสถาบันการศึกษาทุกระดับเพื่อเพิ่มอัตราการดื่มนมจาก 18 ลิตรต่อคนต่อปี เป็น 25 ลิตรต่อคนต่อปี ภายในปี 2564 และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับกลุ่มพื้นที่แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ครอบคลุม 7 เขตพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโคนมมาก ได้แก่ กลุ่ม 1 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นประธานดูแลเขต 1 กลุ่ม 2 ผู้ว่าฯ นครราชสีมาดูแลเขต 2 และ 3 กลุ่ม 3 ผู้ว่าฯ ขอนแก่นดูแลเขต 4 กลุ่ม 4 ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ดูแลเขต 5 และ 6 กลุ่ม 5 ผู้ว่าฯ ราชบุรีดูแลเขต7 8 และ9 และคณะอุนกรรมการอื่น ๆ ที่จำเป็น อ.ส.ค. จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายหรือเป็นคู่สัญญา โดยมอบกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับอ.ส.ค.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ทำระบบฐานข้อมูล (Big Data) ของโครงการนมโรงเรียนเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ดื่มนมที่มีคุณภาพทุกวันและสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตและโรงงานแปรรูปได้ ส่วนเกษตรกรผู้มีสิทธิ์จำหน่ายน้ำนมดิบต้องจดทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมกับกรมปศุสัตว์ ส่วนศูนย์รวบรวมน้ำนมโคและผู้ประกอบการแปรรูปต้องลงทะเบียนเข้าโครงการนมโรงเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งด้านคุณภาพและปริมาณที่แท้จริง อีกทั้งให้มีบทลงโทษกรณีขึ้นทะเบียนซ้ำหลายพื้นที่และแจ้งข้อมูลเป็นเท็จ

           โดยเกณฑ์การจัดสรรสิทธิ์ จากเดิมจัดสรรตามปริมาณน้ำนมดิบที่ทำ MOU การรับซื้อไว้กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ แต่ข้อมูลที่ผู้ประกอบการแจ้งไม่น่าเชื่อถือและไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย จึงกำหนดหลักเกณฑ์ให้จัดสรรตามปริมาณน้ำนมดิบในพันธสัญญาที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ปัญหาที่ผ่านมายังพบว่า ผู้ประกอบการต้องการได้สิทธิ์จำหน่ายนมโรงเรียน แต่ไม่รับผิดชอบน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้นแต่ละปี จึงจะพิจารณาถึงความรับผิดชอบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ให้ความสำคัญแก่ภาคสหกรณ์และศูนย์รวบรวมน้ำนมโคเป็นของตนเอง หรือมีแผนการตลาดรองรับน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นทุกปี และรับผิดชอบตลอด 365 วัน อีกทั้งมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและประวัติการดำเนินงานที่ผ่านมา ส่วนคุณภาพของนมโรงเรียนต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียนระดับพื้นที่ ในอนาคตจะเพิ่มสารอาหารที่จำเป็นหรือเหมาะสมสำหรับแต่ละเขตเช่น เติมไอโอดีน ดีเอชเอ ลูทีน โคลีน เป็นต้น

           อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงอุดหนุนงบประมาณจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการจัดซื้อนมสำหรับโรงเรียนรัฐ ส่วนโรงเรียนเอกชนจัดสรรผ่านกระทรวงศึกษาธิการ โดยวิธีกรณีพิเศษ ตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและเด็กนักเรียนที่บริโภคมากที่สุด สำหรับ อ.ส.ค.ทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาซื้อขายกับผู้ประกอบการและหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจัดซื้อนมโรงเรียน โดยสามารถมอบอำนาจแก่ผู้ประกอบการเป็นคู่สัญญาซื้อขายแทนได้ นอกจากนี้ กำหนดให้ผู้ประกอบการทุกรายทำประกันภัยความรับผิดชอบจากผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล การปรับเปลี่ยนแนวทางบริหารจัดการโครงการนมโรงเรียนตามรูปแบบใหม่นี้จะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีรายได้มั่นคงและคุณภาพชีวิตดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบน้ำนมดิบทุกวัน ทำให้เกิดความโปร่งใสในโครงการ เด็กและเยาวชนได้ดื่มนมที่มีโภชนาการสูง ส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างเต็มศักยภาพ

    Facebook    Twitter    Line

    • ประเด็นเด็ด

    บทความก่อนหน้า

    ต้องปรบมือให้!!! ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่นด้านการศึกษา รางวัลดีเด่นของคนท้องถิ่นที่บริหารจัดการการศึกษายอดเยี่ยม

    ถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี ที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกับมูลนิธิช่วยการศึกษาท้องถิ่น จัดให้มีการคัดเลือก ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่นด้านการศึกษา และผู้อำนวยการสำนัก/กองการศึกษาดีเด่น ประจำ ๒๕๖๑ เพื่อคัดเลือกผู้บริหารองค์กรป
    บทความต่อไป

    มท.เตือน ท้องถิ่นเตรียมพร้อม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ระบาด

    กระทรวงมหาดไทยออกหนังสือแจ้งเตือน อปท.ทั่วประเทศ เตรียมความพร้อม ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และโรคไข้หวัดใหญ่ ปี 2562 หลังกระทรวงสาธารณสุขพบตัวเลขผู้ป่วยเดือนมกราคมพุ่งเกือบ 4,000 ราย

    TITLE
    Caption
    โฆษณา

    บทความแนะนำ

    หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุน รางวัลให้อปท. ปี 2564

    นายกิตติชัย เอ่งฉ้วน รองเลขาธิการ สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่ในเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Kittichai Angchuan’ ถึงผลการประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อให้เป็นรางวัลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2564
    28/02/21
    59
    แชร์

    ระเบียบ มท. ว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564

    เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564 ระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรให้ประชาชนในเขตเทศบาลได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ของตนเองและมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้
    26/02/21
    277
    แชร์

    กฎหมายไม่ขัด! “อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น” ลงสมัครรับเลือกตั้ง “เทศบาล” ได้

    คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีหนังสือตอบข้อหารือจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรณีสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีข้อหารือว่า กรณีอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นมีความประสงค์จะสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นส
    24/02/21
    65
    แชร์

    กกต.ย้ำหลักเกณฑ์การหาเสียงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ "เลือกตั้งเทศบาล"

    ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันอังคารที่ 12 มกราคม 2564 เห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิก สภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 14
    23/02/21
    236
    แชร์

    นครยะลา ผุดไอเดีย “หลาดยะลา” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น ผ่านแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์

    เทศบาลนครยะลา เปิดแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ "หลาดยะลา" ช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมเดินหน้าสู่ "ยะลา เมืองอัจฉริยะ" 
    21/02/21
    54
    แชร์

    เตรียมชดเชยภาษีที่ดินหมื่นล้าน เฉพาะ “ทต.-อบต.”

    รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว เปิดเผยมติคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เกี่ยวกับการชดเชยรายได้ให้แก่
    18/02/21
    1 k
    แชร์

    poonamtongtin

    นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

    ลิงค์เพิ่มเติม

    หมวดหมู่บทความ
    ติดต่อเรา
    Sitemap

    ติดต่อเรา

    กองบรรณาธิการนิตยสารผู้นำท้องถิ่น
    admin@poonamtongtin.com

    หน้าหลัก
    บทความ
    ติดต่อเรา
    อื่นๆ