วัน พุธ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564
poonamtongtin

  • หน้าแรก

  • ประเด็นเด็ด

  • ข่าวดังท้องถิ่น

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ท้องถิ่นวาไรตี้

  • ภาพกิจกรรม

  • รวมคลิป

poonamtongtin
  • หน้าแรก

  • ประเด็นเด็ด

  • ข่าวดังท้องถิ่น

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ท้องถิ่นวาไรตี้

  • ภาพกิจกรรม

  • รวมคลิป

TITLE
Caption
  • ประเด็นเด็ด

ใช้เงินหาเสียงขนาดนั้น ได้เงินเดือนขนาดนี้ ผู้สมัครอบจ. เสียสละมาก!

15 พ.ย., 20 908 แชร์
  • ใช้เงินหาเสียงขนาดนั้น ได้เงินเดือนขนาดนี้ ผู้สมัครอบจ. เสียสละมาก!

      คณะกรรมการการเลือกตั้ง  (กกต.) ประกาศกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 76 จังหวัด จำนวนเงินที่กำหนดของแต่ละจังหวัด แตกต่างกันไปตามขนาดพื้นที่และประชากร แบ่งเป็นการหาเสียงของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และส่วนของสมาชิกสภาฯ (ส.อบจ.)

      วงเงินค่าใช้จ่ายนี้ ครอบคลุมตั้งแต่ค่าสมัครรับเลือกตั้ง ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณาในสื่อต่างๆ ค่าใช้จ่ายในการทำป้ายหาเสียง การจัดเวทีปราศรัย การผลิตสื่อทุกประเภท ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตลอดจนค่าสาธารณูปโภคทุกประเภท เรียกได้ว่าต้องชี้แจงกันละเอียดยิบทุกขั้นตอน

      หลังจบการเลือกตั้งผู้สมัครต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้ง พร้อมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความจริงต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภายใน 90 วัน หากยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายไม่ครบหรือจงใจปกปิดว่าใช้เกินวงเงิน โทษหนักถึงขั้นตัดสิทธิการเลือกตั้ง หมดสิทธิดำรงตำแหน่งที่เพิ่งได้รับเลือกมา

      เมื่อดูภาพรวมทั้งประเทศ พบว่า จ.นครราชสีมา กำหนดวงเงินให้ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. ใช้เงินหาเสียงได้มากถึง 19,000,000 บาท รองลงมาคือ จ.อุดรธานี 15,120,000 บาท ด้านจังหวัดที่งบน้อยที่สุดคือ จ.สมุทรสงคราม 1,200,000 บาท

      ในส่วนของผู้สมัคร ส.อบจ. จ.ชัยภูมิกำหนดให้ใช้จ่ายได้มากที่สุดถึง 600,000 บาทต่อราย รองลงมา จ.ชุมพร 550,000 บาทต่อราย ด้าน จ.พะเยาถูกตั้งงบไว้น้อยที่สุด 135,000 บาทต่อราย

      ความคึกคักของการหาเสียงเลือกตั้ง อบจ. ในครั้งนี้ไม่ธรรมดา ในช่วงสั้นๆ ก่อนการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 นักวิชาการคาดว่าอาจมีเงินสะพัดหลักหมื่นล้านบาท หลังจากเศรษฐกิจซบเซาจากพิษของโรคโควิด-19

      วงเงินค่าใช้จ่ายหาเสียงที่สูงลิ่ว แสดงให้เห็นว่า เหล่าผู้สมัครชิงชัยใน อบจ. ยอมทุ่มทุน เพื่อให้เข้ามาดำรงตำแหน่ง หลายคนเกิดคำถามว่าคุ้มไหม? เพราะวาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่นมีเพียง 4 ปี

      เมื่อเปิดฐานเงินเดือนของนายก อบจ. พบว่ามีเงินค่าตอบแทนต่อเดือน 75,530 บาท ได้รับเท่ากันทุกจังหวัด โดยแบ่งเป็นเงินเดือน  55,530 บาท ค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง 10,000 บาท ค่าตอบแทนพิเศษ 10,000 บาท ในระยะเวลา 12 เดือน รวมเป็นเงิน 906,360 บาท หากนับรวมครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 3,625,440 บาท ด้าน ส.อบจ.ได้รับค่าตอบแทน 19,440 บาทต่อเดือน ไม่มีเงินพิเศษอื่นๆ อีก ถ้านับกันครบ 4 ปี รวมเป็นเงิน 933,120 บาท ก็นับว่าคุ้มค่าหากต้องหาเสียงด้วยเงินไม่เกิน 5 แสนบาท   

      ผู้สมัคร นายก อบจ.ดูท่าจะเจ็บหนักที่สุด หากพิจารณาถึงความคุ้มค่าด้านตัวเลข มีเพียงนายก อบจ.ใน 22 จังหวัด จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ ที่ได้รับเงินเดือน “คุ้มค่า” กับค่าใช้จ่ายที่เสีย

      งานนี้ต้องยอมรับในความ “เสียสละ” ของบรรดาเหล่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น ที่เลือกอุทิศตน เข้ามาทำงานเพื่อประชาชน ยอมแลกทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ เพื่อเข้ามาพัฒนาท้องถิ่น โดยไม่หวังความคุ้มค่าในเรื่อง เงินๆ ทองๆ 

     

    Facebook    Twitter    Line

    • ประเด็นเด็ด

    บทความก่อนหน้า

    สถ.เตือน! อบจ.ไม่มีเลือกตั้งล่วงหน้า – ไม่มีเลือกตั้งนอกเขต

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เพจ กองการเลือกตั้งท้องถิ่น สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เผยแพร่ข้อความระบุว่า การเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่จะเกิดขึ้นในวันที่อาทิตย์ 20 ธันวาคม 2563 นั้น ไม่มีก
    บทความต่อไป

    สถ.เรียกบรรจุ ขรก.ท้องถิ่นครั้งที่ 10 รวม 115 อัตรา

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ได้มีหนังสือ เรียกผู้เข้าสอบแข่งขันได้รายงานตัว เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการหรือหนักงานส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 10 ตามที่คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ได้ดำเนินการสอบแข่งขัน

    TITLE
    Caption
    โฆษณา

    บทความแนะนำ

    ศาลสั่ง “เทพไท” พ้น ส.ส. คดีทุจริตเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีฯ

    วันที่ 27 มกราคม 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้สมาชิกภาพส.ส.ของนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.เขต 3 นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(6) ประกอบมาตรา 98(4) มาตรา 96(2) จากเหตุศาล จ.นครศรีธรรมราช มีคำพิพากษา ลงโทษจำคุก 2 ปี ไม่รอก
    27/01/21
    43
    แชร์

    ครม.เห็นชอบชดเชย อปท. ภาษีที่ดินหาย

    ครม.เตรียมชดเชยรายได้ท้องถิ่นหาย 4 หมื่นล้าน หลังเคาะมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90 เปอร์เซ็นต์ต่อในปี 2564
    26/01/21
    147
    แชร์

    เช็กคุณสมบัติผู้รับ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” ป้องกันถูกเรียกคืน

    เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายดำรงชีพที่ผู้สูงอายุได้รับจากรัฐบาล เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยจะเปิดรับผู้สูงอายุรายใหม่ในทุกๆ ปี การให้เงินช่วยเหลือเป็นแบบขั้นบันได ตามระดับอายุ คือ อายุ 60 – 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพ 600 บา
    26/01/21
    76
    แชร์

    สถ.เปิดไทม์ไลน์เลือกตั้ง “เทศบาล”

    กองการเลือกตั้งท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดเผยไทม์ไลน์ แผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี หลังคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติให้จัดการเลือกตั้งในระดับเทศบาลในวันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค.64 เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งผู้รับสมัครเลือก
    26/01/21
    495
    แชร์

    "บิ๊กแจ๊ส" ถูกกล่าวหา หาเสียงเกินอำนาจ อบจ. ลุ้น กกต.วินิจฉัย

    วันที่ 25 มกราคม 2564 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จ.ปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง หรือ บิ๊กแจ๊ส พร้อมด้วย นายอดิสร เพียงเกษ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมาพบคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา โดยมี น.ส.สุชัญญา วิมุกตายน
    25/01/21
    82
    แชร์

    อ.นิติศาสตร์ชี้ช่อง ยายไม่ต้องคืนเบี้ยคนชรา หากรับไว้โดยสุจริต-ใช้จ่ายหมดแล้ว

    จากกรณี ยายวัย 89 ปี ถูกกรมบัญชีกลางมีหนังสือแจ้งเรียกคืนเงินค่าเบี้ยผู้สูงอายุรวมดอกเบี้ยคืนกว่า 84,000 บาท หลังได้รับมานานกว่า 10 ปี เนื่องจากตรวจสอบพบว่าขาดคุณสมบัติ เพราะได้รับเงินบำนาญจากลูกชายซึ่งเป็นทหารและเสียชีวิตในหน้าที่แล้วนั้น
    25/01/21
    64
    แชร์

    poonamtongtin

    นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

    ลิงค์เพิ่มเติม

    หมวดหมู่บทความ
    ติดต่อเรา
    Sitemap

    ติดต่อเรา

    กองบรรณาธิการนิตยสารผู้นำท้องถิ่น
    admin@poonamtongtin.com

    หน้าหลัก
    บทความ
    ติดต่อเรา
    อื่นๆ