close

หน้าแรก

menu
search

นักวิชาการแนะแก้กฎหมาย คืนค่าเสียหายสิ่งแวดล้อมให้ อปท.

schedule
share

แชร์

          เหตุเพลิงไหม้และถังเก็บสารเคมีระเบิดที่โรงงาน บริษัท หมิงตี้ เคมิคอล จำกัด ซึ่งประกอบกิจการผลิตเม็ดโฟมพลาสติก ในซอยกิ่งแก้ว 21 ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนประชาชนโดยรอบเป็นจำนวนมาก ยังสร้างความเสี่ยงด้านสุขภาพอนามัยของคนในพื้นที่ รวมถึงสิ่งแวดล้อมในรัศมีโดยรอบในระยะ 5-10 กิโลเมตรด้วย

 

          เนื่องจากสารตั้งต้นในการผลิตเม็ดพลาสติก “สไตรีนโมโนเมอร์” เมื่อถูกเผาไหม้ลอยไปในอากาศ จะมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นสารก่อมะเร็ง และหากปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ อาจจะสร้างหายนะใหญ่หลวงให้กับสุขภาพของคนและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยรอบ

          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่คือหน่วยงานแรกๆ ที่ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ เพราะมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จัดสรรงบประมาณ ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์เร่งด่วน ขณะที่ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมอันบอบช้ำ ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถฟื้นฟูได้ในระยะเวลาอันสั้น

 

          ตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกเงินค่าเสียหายและเงินเยียวยาให้กับประชาชนและทรัพย์สินที่เสียหายได้จากบริษัทต้นเหตุ แต่ความสูญเสียด้านสิ่งแวดล้อมที่ท้องถิ่นต้องเยียวยาต่อไปในอนาคต ท้องถิ่นได้สิทธิในการจัดการเงินเยียวยาเหล่านี้หรือไม่

 

นักวิชาการแนะแก้กฎหมาย คืนค่าเสียหายสิ่งแวดล้อมให้ อปท.

 

          นายบรรณ แก้วฉ่ำ นักวิชาการด้านกฎหมายท้องถิ่น ได้แสดงความเห็นในเพจส่วนตัวไว้อย่างน่าสนใจว่า

 

          โรงงานที่ทิ้งมลพิษ (รวมทั้งความเสี่ยงระเบิดไฟไหม้แบบนี้) ไว้ในเขต อปท. แต่ภาษีรายได้ส่วนใหญ่เก็บเข้าส่วนกลาง แม้เงินค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ก็เก็บเข้าส่วนกลาง แทนที่จะกำหนดในกฎหมายให้ส่งให้ อปท.ในพื้นที่

 

          …นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางการต้องสั่งเร่งอพยพประชาชนจากเหตุการณ์ระเบิดในโรงงานที่เต็มไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษ เมื่อสองปีก่อน (วันที่ 25 พ.ค. 2562) ก็เกิดเหตุไฟไหม้ตู้คอนเทนเนอร์บนเรือบรรทุกสินค้าที่จอดเทียบท่า ท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีสารเคมีไม่ทราบชนิดรั่วไหล มีการนำส่งผู้ป่วยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 25 ราย สถานการณ์ล่าสุดจากเหตุระเบิดของโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกขนาดใหญ่ในซอยกิ่งแก้ว 21  อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

 

          …ผลกระทบต่อประชาชนทั้งโดยทันทีทันใด และในระยะยาว การดูแลเยียวยาฟื้นฟู เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ที่เป็นด่านหน้าแรกสุด

 

          …แต่ การเก็บภาษีรายได้จากอุตสาหกรรมแบบนี้ เกือบทั้งหมดไปเข้าส่วนกลาง แบ่งคืนมาให้ อปท.ไม่คุ้มกับ ปัญหามลพิษต่างๆ ที่จะต้องแก้ปัญหาในพื้นที่

 

          …นอกจากนั้น ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดกับพื้นที่ ซึ่งผู้ก่อเหตุจะต้องชดใช้ ตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ไม่ได้เขียนให้ส่งแก่ท้องถิ่น และกำหนดให้นำเข้าส่วนกลางเสียทั้งสิ้น

 

          …ความเสียหาย เกิดในพื้นที่ อบต.ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางพลี แต่ค่าชดเชยความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ส่งไปสร้างทางด่วนในกรุงเทพ

 

นักวิชาการท้องถิ่นพ้อ รง.ระเบิดสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นช้ำ แต่เงินเยียวยาเก็บเข้าส่วนกลาง

          …ตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 96 กำหนดไว้ว่า… แหล่งกำเนิดมลพิษใดก่อให้เกิด หรือเป็นแหล่งกำเนิดของการรั่วไหล หรือแพร่กระจายของมลพิษอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัย หรือเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่น หรือของรัฐเสียหายด้วยประการใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายเพื่อการนั้น ไม่ว่าการรั่วไหล หรือแพร่กระจายของมลพิษนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่ามลพิษเช่นว่านั้นเกิดจาก

 

          (1) เหตุสุดวิสัยหรือการสงคราม

          (2) การกระทำตามคำสั่งของรัฐบาลหรือเจ้าพนักงานของรัฐ

          (3) การกระทำหรือละเว้นการกระทำของผู้ที่ได้รับอันตรายหรือความเสียหายเอง หรือของบุคคลอื่น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงหรือโดยอ้อม ในการรั่วไหลหรือการแพร่กระจายของมลพิษนั้น

 

          ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหาย ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษมีหน้าที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ทางราชการต้องรับภาระจ่ายจริงในการขจัดมลพิษที่เกิดขึ้นนั้นด้วย

 

          …ตามกฎหมายดังกล่าว หมายความว่า ส่วนที่ เทศบาลตำบลบางพลี หรือ อบต.เทศบาล จะได้การชดเชยให้แก่ เทศบาล /อบต.นั้น เฉพาะเงินงบประมาณของ เทศบาล/ อบต.ที่ได้ควักจ่ายไปเท่านั้น แต่ค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อันเป็นเงินก้อนใหญ่ที่เจ้าของโรงงาน (รวมทั้งประกัน) ต้องจ่ายนั้น เมื่อไม่กำหนดให้เป็นของท้องถิ่นก็ต้องจ่ายเข้าส่วนกลาง

 

          …เมื่อไหร่ประเทศเรา จะมีรัฐบาลที่คิดเรื่องกระจายอำนาจ ปรับปรุงแก้กฎหมาย กำหนดให้ค่าธรรมเนียม ภาษีรายได้ทุกประเภท ที่เกิดขึ้นในเขต อปท.แห่งใด จะต้องแบ่งไว้ให้ อปท.แห่งนั้นก่อน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40-65 และส่วนที่เหลือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ให้ส่งเข้าส่วนกลาง 1 ส่วน และ ส่งเข้ากองทุนลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อนำไปพิจารณาจัดสรรให้แก่ อปท.ที่มีรายได้น้อย ในลักษณะการจัดสรรแบบผกพัน คือ อปท.ที่มีรายได้น้อยมาก ก็จัดให้มากหน่อย ส่วนที่มีบ้าง ก็จัดให้น้อยกว่า เป็นต้น โดยอาจดูเงื่อนไขอื่นๆประกอบ เช่น จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่ เป็นต้น

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]