close

หน้าแรก

menu
search

ท้องถิ่นอินเดียเริ่มแล้ว ทำถนนด้วยขยะพลาสติก

schedule
share

แชร์

  เทศบาลในประเทศอินเดีย สร้างถนน 246 กม. จากขยะพลาสติก 9,700 ตัน ช่วยลดขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ พร้อมสร้างรายได้ให้กับชุมชน

  ทุกประเทศกำลังเผชิญปัญหาจากขยะจากพลาสติกล้นโลก ในหลายประเทศต่างออกมาตรการเพื่อลดการใช้และควบคุมการใช้ขยะจากพลาสติก จากรายงานพบว่า ผู้คนทั่วโลกซื้อขวดพลาสติก 1 ล้านขวดใน 1 วินาที และ 91 เปอร์เซนต์ของพลาสติกเหล่านั้นไม่ได้ถูกรีไซเคิล

  ประเทศอินเดียก็ประสบกับปัญหาเดียวกัน มีการคาดการกันว่าการบริโภคพลาสติกต่อปีของอินเดียอาจจะสูงถึง 20 ล้านตันในปี 2563 ปัญหาหลักของพลาสติกคือ เมื่อถูกสลายเป็นอานุภาคขนาดเล็กจะซึมลงไปใต้ผิวดินและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งจะยังคงอยู่แบบนี้ไปนานนับพันปีคู่กับวงจรชีวิตของมนุษย์

  เทศบาลเมือง Panchayat ในรัฐ Kerala ประเทศอินเดีย จึงคิดโครงการนำขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ มาใช้เป็นวัสดุสำหรับสร้างถนน โดยได้แนวคิดมาจากวิทยาลัย Ernakulam ที่ทดลองใช้พอลิเมอร์เหลือทิ้งมาใช้ทำถนนภายในวิทยาลัยระยะทาง 500 เมตร

  Renjith Abraham อดีตนายกเทศมนตรีเมืองจึงเข้าไปปรึกษากับ กรมโยธาธิการ Public Works Department (PWD) เพื่อขอความรู้ในการจัดการด้านเทคนิค ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนที่ดี โดยเริ่มจากการนำพลาสติกมาหั่นชิ้นเล็กๆ ผสมกับยางมะตอย

  โครงการดังกล่าวก่อให้เกิดกลุ่ม Kudumbashree เป็นการรวมตัวกันของคนในเมือง Kerala สมาชิกในกลุ่มจะเดินไปเคาะประตูบ้านแต่ละหลังในช่วงค่ำ เพื่อขอพลาสติกที่ไม่สามารถใช้รีไซเคิลได้ เช่น โฟม ภาชนะใส่อาหาร ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ฝาขวด หรือท่อพีวีซี

  เครื่องหั่นพลาสติกสามารถหั่นพลาสติกได้วันละ 500 กิโลกรัม โดยทางเทศบาลจะขายพลาสติกที่หั่นแล้วให้กับ PWD เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุทำถนน โดยขายในราคาประมาณ 8.8 บาทต่อกิโลกรัม

  จากการศึกษาพบว่า คุณภาพของถนนที่ทำจากพลาสติกไม่ได้ลดลง ตรงกันข้ามกลับทำให้เนื้อของถนนยึดติดกันดี รวมทั้งช่วยลดความเสียหายของถนนจากการกัดเซาะของน้ำ จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของถนนให้ยาวนานขึ้น

      การใช้พลาสติกเข้ามาร่วมเป็นวัสดุในการทำถนน ช่วยให้ลดการใช้ยางมะตอยไปกว่า 8 เปอร์เซนต์ จึงช่วยลดต้นทุนและลดทรัพยาการจากใช้ปิโตรเลียมที่กำลังเป็นวัสดุหายากได้

 “หน่วยงานรัฐติดตั้งเครื่องหั่นย่อยพลาสติกหลายแห่งในเมือง โดยสามารถย่อยพลาสติกไปแล้วถึง 9,700 ตัน ใช้ทำถนนได้ 246 กิโลเมตร แต่ปัจจัยที่จะทำให้การทำงานทั้งหมดมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็คือ การคัดแยกขยะที่ต้นทาง” Renjith กล่าว

(ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก www.thebetterindia.com)

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แต่งชุดไทยไปประชุมสภาสีสันถิ่นกรุงเก่า ต้อนรับงานยอยศยิ่งฟ้า มรดกโลก 66

แต่งชุดไทยไปประชุมสภาสีสันถิ่นกรุงเก่า ต้อนรับงานยอยศยิ่งฟ้า มรดกโลก 66

นายกเล็กฯ อยุธยา นำทีมเทศบาลฯ แต่งกายชุดไทย ร่วมประชุมส…

schedule
ทม.มหาสารคามจับมือดีป้าขับเคลื่อนสู่เมืองอัจฉริยะ เป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะชุมชนเขตเมืองอย่างยั่งยืน

ทม.มหาสารคามจับมือดีป้าขับเคลื่อนสู่เมืองอัจฉริยะ เป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะชุมชนเขตเมืองอย่างยั่งยืน

เทศบาลเมืองมหาสารคามขับเคลื่อนสู่เมืองอัจฉริยะโดยสร้างส…

schedule
สุดปัง! โรงเรียนสังกัด ทม.มุกดาหาร คว้าแชมป์โลก “หุ่นยนต์กู้ภัยยุวชน”

สุดปัง! โรงเรียนสังกัด ทม.มุกดาหาร คว้าแชมป์โลก “หุ่นยนต์กู้ภัยยุวชน”

โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) สังกัดกองการ…

schedule
นครยะลา ประกวดออกแบบและตัดเย็บ “ผ้ามลายู” ชิงเงินแสน ดันผ้าท้องถิ่นสู่สากล

นครยะลา ประกวดออกแบบและตัดเย็บ “ผ้ามลายู” ชิงเงินแสน ดันผ้าท้องถิ่นสู่สากล

เทศบาลนครยะลา จ.ยะลา ร่วมกับสถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำ…

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]