close

หน้าแรก

menu
search

ท้องถิ่นพื้นที่เสี่ยง ต้องตามข่าว!!! แผนเตรียมพร้อมรับสึนามิ

schedule
share

แชร์

       กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บูรณาการเตรียมพร้อมรับมือ สึนามิอย่างเข้มข้นและครอบคลุมทุกมิติ เน้น “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” พร้อมแจ้งเตือนภัยถึงระดับครัวเรือนและบุคคล พร้อมกระจายข้อมูลเตือนภัยผ่านช่องทางสื่อทุกประเภท

       กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บูรณาการเตรียมพร้อมรับมือสึนามิอย่างเข้มข้นและครอบคลุมทุกมิติ พร้อมนำเทคโนโลยีมาใช้ในการคาดการณ์ แจ้งเตือนภัยสึนามิที่แม่นยำรวดเร็ว วางระบบเตือนภัยสึนามิให้พร้อมใช้งานในทุกพื้นที่เสี่ยงภัย ควบคู่กับการกระจายข้อมูลเตือนภัยสึนามิในหลากหลายช่องทางถึงระดับพื้นที่ 

       นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า แม้คลื่นสึนามิที่เข้าถล่มบริเวณชายฝั่งเกาะสุมาตราและชวา ประเทศอินโดนีเซีย จะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บูรณาการเตรียมพร้อมรับมือสึนามิอย่างเข้มข้นและครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลเตือนภัยสึนามิอย่างเป็นระบบ ผ่านศูนย์วิเคราะห์สึนามินานาชาติ ติดตามปัจจัยบ่งชี้แนวโน้มการเกิดสึนามิจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลเชิงลึกของแผ่นดินไหวในทะเล ข้อมูลแรงดันน้ำในระดับความลึกจากทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิฝั่งมหาสมุทรอินเดียและข้อมูลระดับน้ำทะเลจากสถานีวัดระดับน้ำ วางระบบตรวจวัดและเตือนภัยสึนามิทั่วถึงทุกพื้นที่

       โดยติดตั้งเครื่องตรวจวัดและระบบเตือนภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย อาทิ ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ 2 แห่ง สถานีวัดระดับน้ำ 36 แห่ง หอเตือนภัยฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย 284 แห่ง เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม 83 จุด สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย (แม่ข่าย) 135 แห่ง หอกระจายข่าว 163 แห่ง และเครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่ 266 เครื่อง

       ดูแลระบบเตือนภัยสึนามิให้พร้อมใช้งาน โดยบำรุงรักษาอุปกรณ์อยู่เสมอ และทดสอบสัญญาณเตือนภัยสึนามิเป็นประจำทุกวันพุธ ตรวจสอบป้ายบอกทิศทางหนีภัยและเส้นทางอพยพมิให้ชำรุด เตรียมสถานที่หลบภัยให้พร้อมรองรับการอพยพ วางแนวทางส่งข้อมูลเตือนภัยในหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้แจ้งเตือนภัยถึงระดับครัวเรือนและบุคคล รวมถึงกระจายข้อมูลเตือนภัยผ่านช่องทางสื่อทุกประเภท พร้อมทั้งแจ้งเตือนภัยสึนามิผ่านหอเตือนภัยในรูปแบบของเสียงไซเรนและประกาศเตือนภัย 5 ภาษา ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมัน รวมถึงแจ้งเตือนภัยผ่านหอกระจายข่าว วิทยุชุมชน และเครือข่ายแจ้งเตือนภัยพิบัติภาคประชาชน อาทิ ผู้นำชุมชน เครือข่ายวิทยุสมัครเล่น อาสาสมัครเตือนภัย 

       นอกจากนี้ ยังสร้างเครือข่ายเตือนภัยในระดับพื้นที่ เพื่อทำหน้าที่ประสานแจ้งเตือนให้ประชาชนอพยพทันท่วงที จัดฝึกซ้อมการเผชิญเหตุและอพยพหนีภัยสึนามิในทุกระดับ เพื่อให้หน่วยงานได้ซักซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุสึนามิและแผนปฏิบัติการอพยพ รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้ทักษะการอพยพหนีภัยอย่างปลอดภัย

 

26 ธันวาคม 2561

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]