close

หน้าแรก

menu
search

กพช. เคาะเกณฑ์โรงไฟฟ้าชุมชน รับซื้อ 2.9-5.3 บาทต่อหน่วย ตั้งเป้าเริ่มรับซื้อไฟฟ้าปี 63

schedule
share

แชร์

  นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบในหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT)และราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)เมื่อ 4 ธ.ค.62 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปดำเนินการออกระเบียบหรือประกาศการรับซื้อไฟฟ้าตามขั้นตอนต่อไป พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากขึ้น เพื่อบริหารจัดการตลอดจนกำกับดูแลให้โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

  สำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากเป็นสัญญาประเภท Non-Firm ที่สามารถใช้ระบบกักเก็บพลังงานร่วมด้วยได้ ห้ามใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลช่วยในการผลิตไฟฟ้า ยกเว้นช่วงเริ่มต้นเดินเครื่อง โดยในปี 63 จะมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้า 700 เมกะวัตต์(MW) และกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) แบ่งออกเป็น 2 โครงการคือ

  1.Quick win เป็นโครงการที่ให้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในปี 63 ซึ่งเปิดโอกาสให้โรงไฟฟ้าที่ก่อสร้างแล้วเสร็จหรือใกล้จะแล้วเสร็จ เข้ามาร่วมโครงการ

  2.โครงการทั่วไปเปิดโอกาสให้ผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการเป็นการทั่วไป และอนุญาตให้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 64 เป็นต้นไป ปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขายไม่เกิน 10 MW ใช้วิธีการคัดเลือกโดยกรรมการบริหารการรับซื้อไฟฟ้าจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์และคัดเลือกเรียงตามลำดับจากโครงการที่เสนอให้ผลประโยชน์คืนสู่ชุมชนสูงสุดไปสู่ผลประโยชน์ต่ำสุด ทั้งนี้จะพิจารณารับซื้อจากโครงการ Quick win ก่อนเป็นลำดับแรกแล้วจึงจะพิจารณารับซื้อจากโครงการทั่วไป

สำหรับรูปแบบการร่วมทุน ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 1.กลุ่มผู้เสนอโครงการ (ภาคเอกชนอาจร่วมกับองค์กรของรัฐ) สัดส่วนประมาณ 60-90% และ 2.กลุ่มวิสาหกิจชุมชน (มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 200 ครัวเรือน) สัดส่วนประมาณ 10-40% (เป็นหุ้นบุริมสิทธิไม่น้อยกว่า 10% และเปิดโอกาสให้ซื้อหุ้นเพิ่มได้อีก รวมแล้วไม่เกิน 40%)

  โดยกำหนดส่วนแบ่งจากรายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายไฟฟ้าที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นให้กับกองทุนหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่พัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นของโรงไฟฟ้านั้นๆ โดยมีอัตราส่วนแบ่งรายได้ 1.สำหรับโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) และก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน)ไม่ต่ำกว่า 25 สตางค์ต่อหน่วย 2.สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Hybrid ไม่ต่ำกว่า 50 สตางค์ต่อหน่วย

  ด้านพื้นที่พัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่น ครอบคลุมหมู่บ้านโดยรอบโรงไฟฟ้าที่อยู่ในรัศมีจากศูนย์กลางโรงไฟฟ้าดังนี้หนึ่ง 5 กิโลเมตรสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเกิน 5,000 ล้านกิโลวัตต์–ชั่วโมงต่อปี,สอง 3 กิโลเมตรสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเกิน 100 ล้านกิโลวัตต์–ชั่วโมงต่อปี แต่ไม่เกิน 5,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และสาม 1 กิโลเมตรสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 100 ล้านกิโลวัตต์–ชั่วโมงต่อปี ในกรณีที่มีการทับซ้อนกันของเขตพื้นที่ให้คำนึงถึงประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่พัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นเป็นสำคัญ และชุมชนยังคงได้รับผลประโยชน์ตามระเบียบกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามปกติ

  ในด้านแผนการจัดหาเชื้อเพลิง ผู้เสนอโครงการต้องมีสัญญารับซื้อเชื้อเพลิงในราคาประกันกับวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบเกษตรพันธะสัญญา (Contract farming) ซึ่งในสัญญาจะต้องมีการระบุข้อมูลปริมาณการรับซื้อเชื้อเพลิง ระยะเวลาการรับซื้อเชื้อเพลิง คุณสมบัติของเชื้อเพลิงและราคารับซื้อเชื้อเพลิงไว้ในสัญญาด้วย

  ในส่วนของราคารับซื้อไฟฟ้า เนื่องด้วยเปิดโอกาสให้โครงการที่ได้ลงทุนก่อสร้างไปแล้วก่อนปี 60 แต่ไม่สามารถรับซื้อไฟฟ้าได้ ติดปัญหา Grid capacity แต่ปัจจุบันสามารถรับซื้อไฟฟ้าได้แล้วจึงกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าตามสมมุติฐานทางการเงิน ณ ปีที่ลงทุนก่อสร้าง ซึ่ง กพช.ได้เห็นชอบไว้เมื่อ 17 ก.พ.60 ดังนี้ พลังงานแสงอาทิตย์ 2.90 บาท,ชีวมวลที่กำลังผลิตติดตั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 MW ที่ 4.8482 บาท,ชีวมวลกำลังผลิตติดตั้งมากกว่า 3 MW ที่ 4.2636 บาท,ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) 3.76 บาท,ก๊าซชีวภาพ(พืชพลังงาน 100%) 5.3725 บาท,ก๊าซชีวภาพพืชพลังงานผสมน้ำเสีย/ของเสีย 4.7269 บาท รวมทั้งกำหนด Fit พรีเมี่ยมให้กับพื้นที่พิเศษที่อยู่ในจังหวัดยะลา,ปัตตานี,นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เพิ่มอีก 0.50 บาทต่อหน่วยในทุกชนิดเชื้อเพลิง

  ทั้งนี้ กพช.ได้ให้ กกพ.ศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าและการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์ไฟฟ้าระบบขนส่งสาธารณะ โดยคำนึงถึงต้นทุนในการจัดหาไฟฟ้าที่เหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพ และได้เห็นชอบการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติม Energy Purchase and Wheeling Agreement (EPWA) สำหรับโครงการซื้อขายไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ไปยังมาเลเซียผ่านระบบส่งไฟฟ้าของไทย ระยะที่ 2 (Lao PDR-Thailand-Malaysia Power Integration Project) Phase 2 หรือ LTM-PIP ระยะ 2 พร้อมทั้งมอบหมายให้ กฟผ.สามารถลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ทันที เพื่อให้สัญญา EPWA มีความต่อเนื่อง และมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาในประเด็นการขอยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโครงการดังกล่าว

 

 

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]