close

หน้าแรก

menu
search

กฎกระทรวง กำหนดราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างฯ พ.ศ. 2563

schedule
share

แชร์

  วันที่ 9 ธันวาคม 2563 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ กฎกระทรวง การกำหนดราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง การจัดทำบัญชีราคาประเมิน ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และแผนที่ประกอบการประเมินราคาที่ดิน พ.ศ. 2563

  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง มาตรา 18 วรรคสอง และมาตรา 27 (1) แห่งพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

  ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้

  “ข้อมูลราคาตลาด ” หมายความว่า ข้อมูลราคาซื้อขายที่ดินที่เกิดขึ้นตามปกติในท้องตลาด โดยเป็นข้อมูลที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นตามกิจกรรมที่ปรากฏตามสภาวะตลาด เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์หรือเปรียบเทียบราคาประเมินที่ดิน เช่น ข้อมูลราคาซื้อขายจดทะเบียน ข้อมูลราคาตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อมูลเสนอขาย ข้อมูลสอบทาน ข้อมูลค่าเช่า

  “วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด” หมายความว่า วิธีการประเมินราคาที่ดิน โดยนำข้อมูล ราคาตลาดของที่ดินในบริเวณใกล้เคียงมาเปรียบเทียบกัน หรือใช้ข้อมูลตัวแทนของที่ดินเป็นข้อมูล ราคาตลาด และอาจนำปัจจัยที่สำคัญต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่ดินมาวิเคราะห์เพื่อกำหนด ราคาประเมินที่ดินนั้น

  “วิธีรายได้” หมายความว่า วิธีการประเมินราคาที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะพิเศษ โดยพิจารณาจากศักยภาพในการสร้างรายได้ของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะพิเศษนั้น แปลงมาเป็นมูลค่า โดยใช้วิธีคิดผลตอบแทนทางตรง (Direct Capitalization Method ) ซึ่งเป็น การประมาณการจากรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หรือวิธีคำนวณมูลค่าปัจจุบันของรายได้ที่เป็นกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Method) ซึ่งเป็นการประมาณการรายได้สุทธิจากทรัพย์สินในอนาคต ตลอดอายุการใช้งานของทรัพย์สิน และคิดลดกลับเป็นมูลค่าปัจจุบัน

  “วิธีต้นทุน” หมายความว่า วิธีการประเมินราคาที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะพิเศษ โดยพิจารณาจากผลรวมของมูลค่าที่ดินและมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะพิเศษซึ่งหักค่าเสื่อมราคา สิ่งปลูกสร้างแล้ว โดยการประเมินราคาที่ดินให้ใช้วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด และการประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะพิเศษอาจใช้วิธีการเปรียบเทียบจากอาคารลักษณะเดียวกัน (Comparative Unit Method ) วิธีคิดต้นทุนแบบแยกส่วน (Unit – in – Place Method ) หรือวิธีการถอดปริมาณงาน ก่อสร้าง (Quantity Survey Method )

  “หน่วยที่ดิน ” หมายความว่า ที่ดินในบริเวณเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทำให้ราคาที่ดินนั้นแตกต่างกันน้อยที่สุด ได้แก่ ทางหลวง ถนน ซอย ทะเล แม่น้ำ คลอง หมู่บ้าน จัดสรร หรือลักษณะทางกายภาพอื่น ที่ใช้แสดงให้ทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งของแปลงที่ดิน

  “ตารางปริมาณงานก่อสร้าง” หมายความว่า ตารางแสดงประมาณการค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ประกอบด้วย ปริมาณวัสดุก่อสร้างและค่าจ้างแรงงาน ตามแบบมาตรฐาน สิ่งปลูกสร้าง ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

  “ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้าง ” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้าง ที่คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกำหนดขึ้นตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง

  “แบบมาตรฐานสิ่งปลูกสร้าง” หมายความว่า แบบแปลนของสิ่งปลูกสร้างตามแต่ละประเภท ที่คณะกรรมการกำหนด ประกอบด้วย แบบการก่อสร้าง แปลนพื้น รูปด้าน รูปตัด ผังหลังคา และเอกสารอื่น ๆ เท่าที่จำเป็นที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางการก่อสร้างได้ตรงตามแบบการก่อสร้างนั้น

  “บัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้าง ” หมายความว่า บัญชีที่กำหนดขึ้นเพื่อให้พนักงานประเมิน ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสามารถใช้ในการกำหนดราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างหรือ สิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่มีราคาประเมิน โดยพิจารณาจากลักษณะของโครงสร้างอาคาร ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

  “ค่าเสื่อมราคาสิ่งปลูกสร้าง” หมายความว่า การเสื่อมค่าอันเนื่องมาจากอายุการก่อสร้างของสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดหักเป็นร้อยละต่อปี ตามประเภทของสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ

  “สิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะพิเศษ ” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่และมีลักษณะ การใช้เพื่อกิจการเฉพาะอย่าง ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ได้

  “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง แต่ไม่หมายความรวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  หมวด 1 การประเมินราคาที่ดิน

  ข้อ 2 ให้คณะกรรมการประจฎจังหวัดประกาศกำหนดพื้นที่และกำหนดระยะเวลาที่จะดำเนินการสำรวจที่ดิน และจัดให้มีการสำรวจสภาพที่ดินในพื้นที่ที่จะกำหนดราคาประเมิน รวมทั้งสืบหาราคาตลาดของที่ดินที่จะกำหนดราคาประเมินและที่ดินที่ใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้
  (1) ตำแหน่งที่ตั้งของแปลงที่ดิน
  (2) ลักษณะรูปแปลงที่ดิน
  (3) การใช้ประโยชน์ที่ดิน
  (4) สภาพแวดล้อม

(อ่านฉบับเต็มคลิกที่นี่)

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

แจ้งข่าวดี! กรมการท่องเที่ยวจัดคอร์สเสริมพลังท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ

กรมการท่องเที่ยวจัดอบรมออนไลน์ ฟรี! เรื่อง “การเสริมพลั…

schedule
แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

แซงทางโค้ง! ลุงชาญปาดบิ๊กแจ๊ส นั่งเก้าอี้นายก อบจ.ปทุมฯ

เมืองปทุมฯ ระอุ หลัง “ชาญ พวงเพ็ชร” ล้ม “บิ๊กแจ๊ส – พล.…

schedule
ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

ทม.บึงยี่โถจัดใหญ่ “ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow” หนุนคุณค่าสูงวัยหัวใจสตรอง

“ลุงป้า ปู่ย่า หลานม่า The Festiwow”ภายใต้โครงการบูรณาก…

schedule
บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

บรรเทาวิกฤต “ขยะมูลฝอย” บทบาทสำคัญของท้องถิ่น

ปี 66 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ …

schedule

นิตยสารผู้นำท้องถิ่นออนไลน์ รวมข่าวสารอัพเดทของคนท้องถิ่น

ติดต่อเรา

อีเมล : [email protected]